ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
1. Full on Full off

     ในการหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่างแบบ Full on Full off นั้น เขาจะฉายภาพสีขาวขึ้นจอฯ เสร็จแล้ว ปรับทุกๆอย่างของโปรเจคเตอร์ให้ภาพสว่างสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นปรับหลอดฉายให้อยู่ในค่าสูง ปรับความสว่างให้สว่างสูงสุด ปรับเปรียบต่างให้สว่างสูงสุดและอื่นๆ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงไปเดินหาตำแหน่งต่างๆบนจอฯที่สว่างที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตรงกลางจอ ค่าที่ได้จะเป็นค่า D-max (maximum density ซึ่งคำนี้ผมยืมมาจากศัพท์ที่เขาใช้ในวงการถ่ายภาพ) เป็นค่าความสว่างสูงสุด

1 ก เพื่อวัดค่าความสว่างสูงสุด จอภาพจะเป็นสีขาว
1 ข เพื่อวัดค่าความสว่างต่ำสุด จอภาพจะเป็นสีดำ

ภาพที่ 1 ภาพที่ฉายเพื่อหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่างตามมาตรฐาน Full on Full off


     ในการหาค่าความสว่างต่ำสุดเขาจะฉายภาพสีดำขึ้นจอฯ แล้วทำทุกอย่างตรงกันกับการหาค่าความสว่างสูงสุด นั่นคือ ปรับตำแหน่งหลอดให้อยู่ที่ Low ปรับความสว่างที่สว่างต่ำสุด ปรับเปรียบต่างและอื่นๆเพื่อให้ภาพมืดที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้นจึงไปค้นหาตำแหน่งต่างๆบนจอที่มืดที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นที่มุมจอ ค่าที่ได้จะเป็นค่า D-min ( minimum density ) ซึ่งเป็นค่าความสว่างต่ำสุด

2 JAOMA

     ต้องขออภัยที่ชื่อนี้ผมมั่วจริงๆ แต่เป็นการมั่วเฉพาะชื่อ แต่ไม่มั่วในในมาตรฐานการวัด คือเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว ผมพบบทความจากญี่ปุ่นว่า สมาคมซึ่งมีชื่อคล้ายๆ Japan Automatic Office Machine Association ได้กำหนดมาตรฐานการหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่างของโปรเจคเตอร์ แต่บทความนั้นได้หายไปนานแล้ว ผมเคยไปค้นหาชื่อสมาคมนั้นจาก JETRO (เหมือนกับฑูตการค้าของญี่ปุ่น) เขาบอกว่าชื่อนั้นไม่มี แต่ที่คล้ายๆกัน ผมจำไม่ได้แล้วและอายไม่กล้ากลับไปถามเขา อีกประการหนึ่ง มาตรฐานนี้ผมยังไม่เคยเห็นใครเขาใช้กัน แม้แต่ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ของญี่ปุ่นเองก็ไม่เคยเห็นแม้แต่รายเดียว


รูปที่ 2.1 ภาพที่ฉายเพื่อหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่าง JAOMA ที่มีการแบ่งเนื้อที่สีขาวออกเป็น 16 ส่วน

รูปที่ 2.2 ภาพที่ฉายเพื่อหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่าง JAOMA ที่มีการแบ่งเนื้อที่สีดำออกเป็น 16 ส่วน

ภาพที่ 2 แพทเทอร์นสำหรับหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่างตามมาตรฐาน JAOMA


     ชื่อสมาคมที่ JETRO แจ้งน่าจะเป็น Japan Business Machine Association ตั้งขึ้นมาประมาณ 10 ปีมาแล้ว จึงอาจเป็นสมาคมเดียวกับที่ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลา แต่ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ก็เป็นไปได้ วิธีใช้การปรับแต่งโปรเจคเตอร์ในมาตราฐาน JAOMA ยังคงใช้วิธีเดียวกับการวัดแบบ Full on Full off เว้นแต่เขาจะฉายภาพทั้งสีขาวและสีดำที่มีแพทเทิร์น ที่แบ่งภาพออกเป็น 16 ส่วน เช่นเดียวกัน ส่วนการวัดค่าเขาไม่ได้วัดจากจุดๆเดียว แต่วัดจากทุกๆช่องของทั้งหมด 16 ช่อง แล้วนำค่าที่วัดทั้ง 16 ช่องมาหาค่าเฉลี่ย วิธีนี้จึงมีความถูกต้องมากกว่าวิธี Full on Full off


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231