ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

สีตอน 2

     ในบทความสีตอน 1 ผมได้อธิบายว่า สีคือแสง และสีขาวที่หลายๆคนชอบบอกว่าไม่มีสีนั้น แท้จริงแล้วมีทุกสี ส่วนสีดำนั้นไม่มีสี คือไม่มีแสง เหมือนเวลาที่เราอยู่ในที่มืดแล้วเห็นอะไรเป็นสีดำไปหมด อีกทั้งยังได้ไขข้อสงสัยของหลายๆคน ว่าทำไมเราจึงให้สีแดง เขียว และน้ำเงินเป็นแม่สี เพียงแต่ไม่ได้ลงไปลงลึกถึงความถี่ของคลื่นแสง เพราะจุดประสงค์ของบทความนี้ไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่จะอยู่ที่แสงในโปรเจคเตอร์
เมื่อเรารู้เรื่องเหล่านี้แล้ว เราก็จะเข้าใจว่าทำไมโปรเจคเตอร์สมัยใหม่จึงใช้สีแดง เขียว และน้ำเงินเป็นแม่สี แล้วเราจะแยกแม่สีเหล่านั้นออกจากแสงสีขาวได้อย่างไร

คำตอบเรื่องนี้ไม่ยาก เรามีวิธีแยกสีขาวออกเป็นแม่สี 3 สี ได้ 2 วิธี

วิธีที่ 1 กรองสีต่างๆออกจากแสงสีขาว จนเหลือแต่ละแม่สีที่ต้องการ

วิธีที่ 2 แยกแม่สีออกจากกันเป็นแดง เขียว และน้ำเงิน

วิธีกรองสี

      เป็นวิธีที่เราใช้มานานมากแล้ว สมัยก่อนเราใช้วิธีแยกสีของแสงสีขาวด้วยแผ่นใสหรือกระจกใสสีต่างๆ เรียกว่าฟิวเตอร์ อย่างเช่นไฟสัญญาณจราจร สีแดง เหลือง และเขียว แสงจากหลอดไฟส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว หากเราต้องการให้เป็นสีแดงเราก็ใช้ฟิวเตอร์สีแดงมากรองแสงสีขาว ฟิวเตอร์ก็จะให้เฉพาะแสงสีแดงผ่าน ส่วนแสงสีเขียวและน้ำเงินก็จะถูกกรองออกไป


ถ้าเราต้องการได้แสงสีเขียวก็ให้ใช้ฟิวเตอร์สีเขียวกรองแสงสีขาว ก็จะให้เฉพาะแสงสีเขียวผ่าน ส่วนแสงสีแดงและน้ำเงินจะถูกกรองออกไป เช่นเดียวกัน หากเราใช้ฟิวเตอร์สีน้ำเงินมากรองแสงสีขาว ฟิวเตอร์ก็จะให้เฉพาะแสงสีน้ำเงินผ่าน ส่วนแสงสีแดงและเขียวก็จะถูกกรองทิ้ง
หากเรานำแสงสีแดง เขียว และน้ำเงินกลับมารวมกันใหม่ เราก็จะได้แสงสีขาวที่สว่างเท่ากับหลอดฉาย 1 หลอดเท่านั้น แต่การทำด้วยวิธีนี้ เราต้องใช้หลอดฉายถึง 3 หลอด นั่นแสดงให้เห็นว่าการแยกแสงด้วยวิธีนี้มีความสูญเสียความสว่างมากๆ

 

     โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพมีหลายวิธี วิธีหนึ่งคือเทคโนโลยี DLP ( Digital Light Processing ) หัวใจของ DLP คือชิพ ( Chip ) สร้างภาพ DMD ( Digital Micro Mirror Device ) ซึ่ง DLP มีให้เลือกทั้งชนิดที่ใช้แผง DMD 1 แผง 2 แผงและ 3 แผง แต่ในตอนนี้จะกล่าวถึงแบบ 1 แผงเท่านั้น เพราะใช้วิธีกรองแสงสีขาวให้เป็นสีแดง เขียว น้ำเงิน ผ่านเลนส์ฉายไปขึ้นจอ DLP มีวิธีกรองแสงให้เป็นสีแดง เขียว น้ำเงินได้อย่างชาญฉลาด คือแทนที่จะใช้หลอดฉาย 3 หลอดและแต่ละหลอดจะใช้ฟิวเตอร์สีแดง เขียว น้ำเงินกรองแสง DLP กลับใช้จานฟิวเตอร์ ( Colour wheel ) ซึ่งที่ขอบจานจะมีฟิวเตอร์สีแดง เขียว น้ำเงินติดไว้ จานสีนี้หมุนได้ด้วยมอเตอร์ ไว้สำหรับหมุนเปลี่ยนฟิวเตอร์สี ทำให้ DLP ใช้หลอดฉายเพียงหลอดเดียว รวมทั้งใช้ DMD เพียงแผ่นเดียวด้วยผมจะไม่อธิบายว่า DLP สร้างภาพได้อย่างไร แต่จะแยกไปเขียนต่างหาก




สำหรับวิธีแยกสีนั้น ผมขอยกไปเป็น “สีตอน 3” ทั้งนี้เป็นเพราะบทความสีนี้ ครั้งแรกผมเขียนขึ้นรวดเดียวจบ แต่ผมเป็นคนที่เขียนบทความไม่เก่ง ต้องแก้ไขเกือบ 2 ปี ก็ยังไม่จบจนต้องแยกเป็น “สีตอน 1” และตั้งใจจะแก้ไข แต่เวลาก็ได้ล่วงเลยมาเป็นปีก็ยังแก้ไขไม่จบ บทความนี้จึงยังไม่สมบูรณ์ จำต้องมี “สีตอน 3” ก็ขออภัย ณ ที่นี้

 

 


นายตาถั่ว  คลำช้าง
(16 /02 /61)

 


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231