ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์


    

ผมเป็นคนขี้สงสัยอะไรต่อมิอะไรไปหมด พอมาค้นคว้าเรื่องโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ ที่มีการวิจารณ์กันสนั่นทั่วอินเทอร์เน็ตว่า สีสวยอย่างโน้นอย่างนี้ ผมเลยเขียนไปตามนั้น แต่ก็ยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

      เริ่มด้วยแสงเลเซอร์ที่ถูกอธิบายว่าเป็นแสงที่มีลำแสงตรงไม่กระจาย ทำให้ไม่ค่อยสูญเสียพลังงาน อย่างเช่นแสงเลเซอร์ชี้จอ ทำให้แสงชนิดนี้ไม่ต้องมีการโฟกัส  อีกทั้งทำไมแสงเลเซอร์ที่ใช้ยิงไปตามผนังอาคารขนาดใหญ่ จะใช้วิธีสแกนลำแสงในแนวราบ เพื่อให้เกิดเป็นภาพ

โปรเจคเตอร์ EPSON
ที่ใช่แสงเลเซอร์ ที่ใช้ในงานแสดงใหญ่ๆ


แต่ทำไมโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ถึงต้องใช้เลนส์ฉายและต้องปรับโฟกัสภาพ รวมทั้งแสงเลเซอร์จะสว่างทั่วจอพร้อมกัน โดยไม่มีการสแกนลำแสง  และอย่างที่ผมได้เขียนไว้ในบทความหลักว่าแสงเลเซอร์นั้นมีเพียงแสงเลเซอร์สีน้ำเงินเท่านั้นที่ดูสมบูรณ์


เลเซอร์ชี้จอ



ภาพที่ยิงด้วยเลเซอร์ด้วยวิธีการสแกนในแนวราบ

แสงเลเซอร์ที่เรารู้จักจะเป็นลำแสงเส้นตรง

ดูแล้วไม่ระยิบระยับ ส่วนแสงเลเซอร์สีแดงและเขียวยังเป็นแสงระยิบระยับเนื่องจาก phase cancellation  หรือ noise หรือเพราะอะไรที่ผมก็ไม่ทราบ ดังนั้นโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์อาจใช้แสงเลเซอร์ผสม (Hybrid) อย่างเช่น ผสมกับแสง LED หรืออะไรเช่นนั้น ส่วนแสงเลเซอร์ที่ได้มาจากไดโอด (diode) ที่โชว์ในไดอะแกรม จะเป็นไอโอดตัวเดียวเดี่ยวๆ จึงไม่น่าจะทำความสว่างได้เกิน 1,000 ANSI ลูเมน



เลเซอร์ไดโอดเดียวๆ

แล้วยังมีการใช้วงล้อ phosphor wheel แล้วนั่นคืออะไร และทำไมจึงต้องเป็นวงล้อ เพราะคำว่า wheel จะหมายถึงล้อที่หมุนได้ แต่ถ้าทำเป็นแผ่นกลมๆบางๆที่อยู่กับที่เฉยๆ มักถูกเรียกว่า disc ก็ได้ ดังนั้นการที่เป็นคนขี้สงสัยอย่างผม เลยต้องค้นคว้าเพิ่มเติม
ผมเริ่มด้วยการเข้าไปค้นหาเลเซอร์ไดโอดของบริษัท Lumiled จากอเมริกาบริษัทที่ผลิต LED ที่มีคุณภาพสูง ที่ผมเคยไปซื้อ LED เป็นชิ้นๆมาใช้ทำเครื่องมือฑันตกรม ปรากฏว่าเขามีเลเซอร์ไดโอดจริงๆ แต่หาข้อมูลเกี่ยวกับการนำมาใช้กับโปรเจคเตอร์ไม่ได้
ผมจึงไปดูที่เว็บไซต์ CREE บริษัทอเมริกันอีกแห่งหนึ่งที่ผลิต Silicon Carbide ด้วยวิธีสังเคราะห์ ซึ่งแร่นี้เป็นวัสดุที่สำคัญในการผลิต LED แถม CREE ยังไปซื้อโรงงานผลิต LED ของจีนทำให้เขามีบทบาทมากในวงการผลิต LED แต่เขาไม่ได้กล่าวถึงไอโอดเลเซอร์เลย

  ต่อมาผมจึงไปค้นหาข้อมูลของ Nichia บริษัทญี่ปุ่นผู้ผลิต LED คุณภาพสูงที่ใช้ทำจอ LED ปรากฏว่าเขามีเลเซอร์ไดโอดที่ทำเป็นแผง แผงละ 8 ไดโอด ซึ่งเป็นเลเซอร์สีน้ำเงิน การทำเป็นแผงอย่างนี้ เวลาประกอบไม่ว่าจะเป็นจานสะท้อนแสงหรือไม่ก็ไดโอดเอง จะต้องปรับมุมสะท้อนแสงด้วยความแม่นยำมากๆ และการที่ผลิตด้วยจำนวนที่น้อยนิด ก็ต้องประกอบด้วยมือ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แสงเลเซอร์มีราคาสูงมาก



แผงเลเซอร์ของ Nichia มีไอโอด 8 ตัว เมื่อไปดูเว็บไซต์ของโปรเจคเตอร์ EPSON ของโปรเจคเตอร์ แผงไดโอดเขาดูจะใหญ่กว่าไอโอด 8 ตัว จึงน่าเชื่อว่าเขาเอาแผงไอโอด 8 ตัวหลายๆอันมาเรียงข้างๆกัน เหมือนอย่างรูปด้านบนนี้ เพื่อให้ได้แผงไดโอดใหญ่

แสงเลเซอร์ที่ทำเป็นแผงรวมกันจึงมีกำลังวัตต์ร่วมๆ 40 วัตต์ ซึ่งน่าจะพอสำหรับโปรเจคเตอร์เลเซอร์ให้สว่างได้ถึง 5,000 ANSI มูเมน
เมื่อค้นคว้ามากๆเข้าก็พบว่า Nichia ยังมีแผงไดโอดเลเซอร์ 8 chips ที่เป็นสีเขียว ซึ่งอาจทำให้โปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ในอนาคตจะเป็นแสง coherent แท้ๆทั้งหมดก็เป็นได้ และจะยิ่งสว่างมากๆขึ้นอีกด้วยซ้ำไป
ไม่เพียงแค่นั้น Christie ยักษ์ใหญ่แห่งโปรเจคเตอร์ที่เป็นผู้ผลิตโปรเจคเตอร์รายใหญ่อันดับ 2 ที่ผลิตโปรเจคเตอร์สำหรับงานอีเว่น และโรงภาพยนตร์อันดับ 2 ของโลก


โปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ที่เป็นเลเซอร์สีน้ำเงินและสีแดง

ก็ยังบอกว่าเขาใช้เลเซอร์สีแดงด้วย (EiKi ก็บอกว่าของเขาก็ใช้เลเซอร์สีแดงด้วยเช่นกัน) แล้วอย่างนี้ถ้าเราจะคอยอีกต่อไปไม่นาน ก็น่าจะมีโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์เพียวๆ ทำให้ผมคิดว่าน่าจะใจเย็นๆ ไม่ควรรีบร้อนซื้อในตอนนี้ แล้วจะได้โปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ที่มีสีสวยสดใส แล้วยังมีโอกาสซื้อในราคาที่ไม่แพงกว่าโปรเจคเตอร์ที่ใช้หลอดฉายภาพ UHP (Ultra High presume) ชื่อทางการค้าของ Philips ซึ่งเป็นหลอดไฟชนิด (discharged lamp)
สำหรับล้อ phosphor ที่บอกว่า เมื่อแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน ไปกระทบเข้าจะทำให้เกิดแสงสีเหลือง ซึ่งก็คือสีเขียวผสมสีแดง ซึ่งเป็นสีที่ complement กับสีน้ำเงิน
ที่ผมสงสัยว่าทำไมต้องทำให้เป็นล้อใหญ่ๆ ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ ข้อสันนิฐานของผมคือ แสงเลเซอร์คงจะสร้างความร้อนสูงมากๆ


phosphor wheel
อย่างเช่นใช้แสงเลเซอร์ตัดเหล็กหนาๆได้ ดังนั้นการที่ต้องใช้จาน phosphor ขนาดใหญ่ อาจช่วยให้มีพื้นที่ระบายความร้อนได้มากขึ้น และอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อจาน phosphor หมุน แสงเลเซอร์อาจไม่จี้ไปยังจุดๆเดียวตลอดเวลา ก็อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการลดความร้อน แต่ผมขอเตือนว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสันนิฐานของผมเท่านั้น

   อีกประการหนึ่ง เมื่อดูแคทตาล็อคของโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ของ EPSON เขาก็พูดถึงเรื่องการระบายความร้อนด้วยของเหลว (ตอนนี้ผมยังไม่มีอาราณ์ที่จะอ่านรายละเอียด) น่าจะหมายความว่าอสงเลเซอร์มีความร้อนมากจริงๆ



โปรเจคเตอร์มีระบบระบายความร้อนด้วยพัดลม



ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว


ภาพแสดงทางเดินของแสงเลเซอร์ที่ EPSON โชว์ในโปรชัวร์ของเขา

   ผมยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยจากแสงเลเซอร์ ในสมัยที่มีการยิงเลเซอร์เป็นโลโก้ตามผนัง หรือใช้แสงเลเซอร์ยิงในดิสโกเทค ผมเคยสอบถามกรมศุลกากรว่ามีกฎหมายควบคุมอย่างไรบ้าง ก็ไม่ได้รับคำตอบ รวมทั้งเมื่อถามไปยังกระทรวงสาธารณะสุขก็ไม่มีคำอธิบาย ผมเลยยังไม่กล้าที่จะนำเข้าเครื่องยิงแสงเลเซอร์
สำหรับโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์นี้ ผมเชื่อว่าผู้ผลิตเองก็คงระแวงถึงปัญหาความปลอดภัยด้วยเช่นกัน แต่คงหาข้อกำหนดถึงความปลอดภัยไม่ได้ แต่พวกเขาคงต้องแข่งขันกันเองอย่างดุเดือด คงไม่มีใครยอมชะลอเพื่อให้ได้คำตอบเรื่องนี้ เราจึงยังไม่มีคำเตือนอะไรทั้งนั้นถึงความปลอดภัยจากโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ ดังนั้นถ้าใครจะซื้อโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ก็ต้องดูแลตัวเองไว้ให้มากๆ


 

 

นายตาถั่ว  คลำช้าง
(12 /06 /61)

 


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231