ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

จอฯภาพฉายตอน 2 การแบ่งชนิดของฝืนจอ


    จอภาพฉายตอน 2 การแบ่งชนิดของฝืนจอ
          สมัยที่ผมเริ่มเข้าสู่วงการโสตทัศนูปกรณ์ คือ พ.ศ 2511 ปัญหาของการฉายภาพคือความสว่าง การเพิ่มความสว่างทำได้หลายวิธีเช่น เพิ่มหลอดฉายให้สว่างขึ้น ใช้เลนส์ที่ให้แสงผ่านมากขึ้น (Fast lens) และจอความภาพที่สะท้อนแสงได้มากขึ้น กะนั้นก็ดีการฉายภาพในห้องเรียน ก็ต้องปิดไฟให้มืด ถ้าเป็นห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศและฉายตอนบ่ายหลังจากทานอาหารอิ่มแล้ว พอปิดไฟลงนักเรียนก็จะนอนหลับ
          ดังนั้นผิวจอภาพฉายในยุคนั้น จึงมีให้เลือก 3 ชนิดคือ
Matt White (ขาวนวล)
Glass Beaded (ทรายแก้ว)
Silver Lencular (ริ้วเงิน) 
ชื่อภาษาไทยนั้น ผมเอามาจากของบริษัทดิทแฮลม์ ซึ่งผมเห็นว่าเข้าท่าพอที่จะรับได้ เลยขอเอามาใช้ในที่นี้ ความสำคัญของผิวจอมีอยู่ 2 ข้อใหญ่คือ

  1. ความสามารถในการสะท้อนแสง
  2. มุมสะท้อนแสง

ความสามารถในการสะท้อนแสง

ภาพแผ่น barium sulfate ที่ใช้สำหรับทดสอบค่า gain ความสว่างของผิวจอภาพฉาย


          เขาวัดค่าเป็น Gain ซึ่งในตอนนั้นผมเข้าใจเอาเองว่าได้มากจากค่าการสะท้อนแสงผิวเจอ matt white เพราะเขาบอกว่ามีค่าการสะท้อนแสง Gain เท่ากับ 1 แต่ภายหลังผมถึงทราบว่า เขาเทียบแสงที่สะท้อนจากวัสดุ barium sulfate หรือ magnesium carbonate ซึ่ง barium sulfate ไม่รู้ว่าจะเหมือนกับแป้งที่คนไข้ต้องทานเพื่อจะเอ็กซ์เลย์กะเพาลำไส้หรือเปล่า และ ma ไม่รู้ว่าเหมือนกับผงขาวที่นักกีฬายกน้ำหนักหรือแบดมินตันเขาใช้โรยในฝ่ามือ เพื่อให้เกิดความฝืดหรือป่าว ว่ามีค่าเท่าไหร่แล้วเอาแสงนั้นไปสะท้อนกับผิวจอที่ต้องการจะรู้ค่า ว่าสว่างกว่าหรือมืดกว่าแสงที่สะท้อนจาก barium sulfate หรือ magnesium carbonate เท่าไหร่ ท่าเท่ากันก็มีค่าเท่ากับ 1 ถ้าน้อยกว่าก็มีค่า 0.8 ถ้ามากกว่าก็อาจมีค่า 1.2
          อีกเรื่องหนึ่งซึ่งในสมัยโน้นไม่มีใครพูดถึงเท่าไหร่ คือมุมสะท้อนแสง วิธีดูง่ายๆของผมก็คือผมจะเดินจากมุมไกลของจอ แล้วเดินขนานกับผืนไปยังอีดกฝากหนึ่ง แล้วคอยสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของความสว่าง เพราะจอบางชนิดความสว่างระหว่างการเดินตรวจแทบจะไม่ต่างกัน แต่บางชนิดตอนที่อยู่ปลายหนึ่งแสงจะค่อนข้างมืด แต่พอมาอยู่แถวๆกลางจอจอจะส่งาจ้า อย่างงี้ถือว่ามีมุมสะท้อนแสงที่แคบมา และถ้ามีมุมสว่างที่แคบมากกว่านั้น เราจะเห็นเป็นดวงสว่าง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ฮอดสปอต (hot sport) ซึ่งแสงนี้ก็คือแสงจาดหน้าเลนส์ฉาย และแสงนี้จะไม่อยู่กับที่ ถ้าคุณเดินไปในระนาบที่ขนานกับฝืนจอ ถ้าคุณก้าวแป 2 ก้าว จุดฮอดสดปอดจะเคลื่อนตามไป 1 ก้าว ถ้าคุณก้าวไป 4 ก้าว จุดฮอดสปอดจะก้าวตามไป 2 ก้าว ถ้าจอไหนมีอาการอย่างนี้ อย่าใช้เด็ดขนาด ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ลองฉายไปบนกระดานไวท์บอร์ด แล้วคุณจะเห็นจุดฮอดสปอดชัดเจน ผู้ผลิตจอหลายยี่ห้อจะให้ค่า Gain ในองศาต่างๆ บางยี่ห้อก็บอกเพียงองศาที่ทำมุมกับเส้นดิ่งสู่ฝืนจอ เช่น 60 องศา แต่บางยี่ห้อเขาเอาองศาจาก 2 ฝั่งรวมกันเป็น 60 องศา ซึ่งผู้อ่านต้องตรวจสอบให้ดี หรือดูเทียบกับสเกลที่เขาอาจให้มา

ภาพกราฟฟิคตัวอย่างการแสดงค่าความมุมสะท้อนแสง ที่มีความสว่างต่างกันอย่างในภาพนี้ ที่ตรงกลางของจอจะมีค่า Gain 3.25 แต่ที่ 30 องศา เป็นต้นไปจะสว่างเพียง Gain 0.5 ซึ่งแสดงว่าผิวจอฝืนนี้สว่างมาก แต่มีมุมสะท้อนแสงเพียง 2x30 = 60 องศาเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะมีค่า Gain 0.5



อีกปัญหาหนึ่งซึ่งผมให้ความสนใจ หลังจากโปรเจคเตอร์มีความสว่างมากขึ้นจน ปัญหาเรื่อง Gain ไม่ใช่เป็นปัญหาใหญ่อีกต่อไป ก็คือ Contrast ซึ่งผมเคยสังเกตดูจากบริษัทที่ทำฝืนจอรายหนึ่งของอเมริกาส่งมาให้ ซึ่งเขาบอกว่าสะท้อนแสงได้มาก แต่เมื่อทดลองแล้วก็ไม่เห็นจะแตกต่าง แต่ผมได้สังเกตว่า Contrast ที่ฝืนจอเขาดีกว่าฝืนจอแบบอื่นๆ ที่เคยมีขายอยู่ คือสีมีความอิ่มมากขึ้น สว่นที่จะเป็นสีดำมีความดำมากขึ้น ซึ่งผมเคยนำเอาข้อสังเกตนี้ไปคุยกับบริษัทผู้ผลิตจอรายใหญ่ๆของโลกฟหลายแห่ง ในงานนิทรรศการ แต่ไม่มีใครเข้าใจผม ผมเชื่อว่าผู้ที่ดูแลบูธนิทรรศการเหล่านั้น เป็นแค่พนักงานขาย ไม่ใช่ผู้เชียวชาญ         ด้านการสะท้อนแสงของผิวจอ แต่หลังจากนั้นอีกเป็น 10 ปี ก็เริ่มมีบางบริษัทที่ผลิตฝืนจอให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผมอยากได้ แต่ผู้ค้าจอในประเทศไทยาสว่นใหญ่กลับไม่เข้าใจ แล้วอธิบายเลอะเทอะๆกันไปหมด

Matt white


ผิว matte white ต้องไม่เรียบ แต่จะเป็นตะปุมตะปั่มละเอียดๆ เพื่อไม่ให้แสงสะท้อนเป็นเส้นตรง แต่จะฟุ้งออกทุกด้าน เพื่อให้ผู้ชมเห็นสว่างได้ทุกๆองศา และไม่เกิดฮอดสปอด

ฝืนจอเป็นพลาสติดสีขาว ที่ผิวไม่ได้เรียบเป็นเงามัน แต่จะมีลอยนูนคล้ายๆหนังเป็ด อย่างกับหนังที่เขาใช้หุ้มหัวไม้กอฟในลูกขนไก่ ที่ใช้เล่นในกีฬาแบดมินตัน ซึ่งการที่ผิวไม่เรียบนี้ ทำให้การสะท้อนแสงเป็นมุมที่กว้างมาก  สมัยโน้นหลายบริษัทบอกว่ามุมสะท้อนแสงคือ 180 องศา ซึ่งดูจะเวอร์ไปนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันมักเขียนเป็น 170 องศา และไม่เป็นฮอดสปอด
ข้อดีของ m คือ

  1. ราคาถูกที่สุดในผิวจอทั้งหมด
  2. มุมสะท้อนกว้างที่สุด
  3. สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ และไม่เป็นเชื้อราเกิดขึ้น

ถ้าเป็นจอที่ผลิตในประเทศสหรัฐอมริกาในมัยโน้น เขาจะฉาบด้านหลังด้วยไฟเบอร์กาศ ข้อดีของไฟเบอกาศคือ ไม่ทำให้ฝืนจอยืด ไม่ว่าจะใช้ไปนานกว่า 10 ปี แต่ไม่มีการรับประกันว่าฝืนจอทุกฝืนต้องเรียบสนิทจริงๆ ไม่ว่าท่านจะซื้อมาจากยี่ห้ออะไร หรือแพงเท่าไหร่ฝืนจอก็อาจจะโค้งบ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้เลย
          หลังจอนี้จะเป็นสีดำ ผมเคยอ่านบทความที่คนไทยเขียน ซึ่งน่าจะจบการศึกษาด้านโสตทัศนศึกษา ระดับปริญญาโท บอกว่าการที่ด้านหลังของฝืนจอเป็นสีดำ จะช่วยเพิ่มความสว่างของฝืนจอด้านที่แสดงภาพ ซึ่งการที่ด้านหลังของฝืนจอเป็นสีดำ ไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรเลยกับความสว่าง แต่ผมเชื่อว่าสีดำมีไว้ไม่ให้แสงที่ส่องจากเครื่องฉายไปที่ผิวจอ แล้วมีบางส่วนทะลุออกไปด้านหลัง ทำให้ไปสว่างกับผนังที่อยู่หลังจอ แต่ถ้าเป็นจอที่ผลิตจากประเทศในยุโปร เช่น อิตาลี่ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เขาไม่ใช้ไฟเบอกาสติดด้านหลัง และเขาจะลงสีด้านหลังเป็นสีส้มบ้าง สีฟ้าบ้าง ซึ่งเมื่อใช้แรกๆ ฝืนจอพวกนี้จะตึงดีกว่าของอเมริกา เพราะยืดได้ แต่พอใช้ไปสักปีหนึ่ง บางส่วนที่ยืดออกก็ไม่หดกลับ ทำให้ดูเป็นรอยเหี่ยวย้อยบนฝืนจอ และแม้ว่าฝืนจอเหล่านี้จะทาด้วยสีส้มหรือสีฟ้าด้านหลัง แต่ก็ยังเห็นแสงทะลุออกมาได้

สำหรับความนิยมของ ผิวจอ matt white ในยุคแรกๆที่ผมมาทำธุรกิจโสตทัศนูปกรณ์คือเมื่อ 50 ปีก่อนนั้น ผิวจอ matt white จะถูกมองว่ากระจอกที่สุด เนื่องจากในสมัยนั้นเครื่องฉายภาพไม่ค่อยสว่าง และผิวจอ matt white สะท้อนแสงได้น้อยกว่าผิวจอชนิดอื่น แต่ด้วยราคาที่ถูกที่สุดในผิวจอทั้ง 3 แบบนี้ จึงจำหน่ายได้ดีกว่าผิวจอชนิดอื่น

ปัจจุบันเครื่องฉายภาพที่แรกๆมีความสว่างประมาณ 115 ansi lumens ปัจจุบันความสว่างเริ่มที่ 2000 กว่าถึง 3000 lumens ขึ้นไป ปัญหาเรื่องความสว่างจึงไม่มี และก็ไม่มีการปิดไฟฉายเหมือนแต่ก่อน ทำให้ในปัจจุบันผิวจอ matt white กลับมาเป็นผิวจอมาตรฐาน เกือบทั้งหมด

ปัจจุบันโปรเจคเตอร์มีความละเอียดมากขึ้น เขาบอกว่าผิวจอ matt white ธรรมดาจะสร้างปัญหาให้กับเม็ดภาพ ดังนั้นผิวจอ matt white รุ่นหลังๆจึงมีรุ่นที่เหมาะที่จะใช้กับภาพที่มีความละเอียดระดับ 2k 4k แต่ผมว่าส่วนใหญ่คงไม่จำเป็นมากนัก เว้นแต่จอภาพฉายจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ถ้าภาพที่ฉายมีขนาดใหญ่ ขนาดของพิกเซลภาพก็จะใหญ่ตามไปด้วย ดังนั้นจอภาพฉายชนิด matt white ที่มีขนาดใหญ่ที่ผิวจอมีความหยาบในแบบเดิม จึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องความละเอียดของภาพ

ฝืนจอ matt white รวมทั้งชนิด Glass Beaded ซึ่งจะเขียนต่อจากเรื่องนี้ สามารถต่อให้ใหญ่ขึ้นได้ ถึงแม้เวลาไม่ฉายเราจะเห็นรอยต่อค่อนข้างชัดเจน แต่เวลาฉายจะมองไม่เห็นรอยต่อเลย ซึ่งต่างกับผิวจอ Silver Lenticularที่จะเขียนต่อจากผิวจอ Glass Beaded เขาห้ามต่อเด็ดขาด เพราะเวลาฉายจะเห็นรอยต่อชัดเจน


          Glass Beaded


ลูกปัดที่เคลือบอยู่บนฝืนจอ ทำหน้าที่เป็นเลนส์ให้แสงมารวมกันที่ด้านหลัง ทำให้มีความเข้มข้น และแสงก็จะสะท้อนกลับไป

 

ผิวจอนี้เป็นพลาสติกสีขาวเรียบ แล้วเขาทาที่ผิวด้วยกาว แล้วจึงโรยทับด้วยเม็ดพลาสติกใส ซึ่งเม็ดพลาสติกเหล่านี้ ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ ที่จะรวมแสงที่ส่องมาจากเครื่องฉาย แล้วควบแน่นจนไปสะท้อนจากผิวจอ ซึ่งเม็ดพลาสติกนี้ทำหน้าที่เหมือนกันเลนส์ แต่เป็นเลนส์ที่มีคุณภาพต่ำเพราะไม่กลมดิก ที่เข้ามาตรฐานออฟติก ยิ่งแสงที่สะท้อนกลับก็จะผ่านเลนส์ตัวเดิม ก็จะยิ่งไปเพิ่มความบิดเบือนหรือความคลาด (aberration) หลายประการเช่น Chroma aberration แต่ภายหลังเม็ดพลาสติกเหล่านี้ มีขนาดเล็กลงมาก ทำให้ปัญหาเรื่องภาพและแสงบิดเบือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่
          ผิวจอ Glass Beaded มีค่า Gain เท่ากับ 1.2-1.5 ซึ่งสว่างกว่า matt white แต่มีปัญหาในห้องที่ใช้ ควรจะมืดหน่อยหนึ่ง เพราะเมื่อมืด ผมว่าภาพเขาจะมีสีที่สวยสดเป็นประกายสดใสดีมาก แต่ถ้าห้องไม่ค่อยสว่างภาพจะดูจืดไปเยอะเลย
          มุมสะท้อนแสงของ Glass Beaded แคบที่สุดในจำนวน 3 แบบนี้ คือเขาให้ค่าเท่ากับ 90 องศา และผิวจอนี้ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เพราะถ้าไปปัดฝุ่น ก็จะทำให้เม็ดลูกปัดหลุด ถ้าถูกน้ำหกใส่ เมื่อแห้งแล้ว  แม้จะดูด้วยสายตาจะไม่เห็นคราบน้ำ แต่เวลาฉายจะเห็นคราบน้ำเป็นสีเหลืองน่าเกลียด เนื่องจากกาวที่ใช้ยึดเม็ดลูกปัดเปลี่ยนคุณภาพในการสะท้อนแสง รวมทั้งฝืนจอแบบนี้ไม่สามารถใช้งานได้นาน เพราะด้วยอากาศที่ร้อนและชื้นในประเทศไทย หากไม่ใช้นานๆกาวจะเปลี่ยนเป้นสีเหลืองและดำ และในกรณีที่ร้ายแรงกาวจะแข็ง พอพลี่ออกมาก็จะเห็นรอยแตกของกาวในแนวนอน ทำให้ต้องทิ้งไปเลย ด้านหลังของผิวจอ Glass Beaded นี้ จะมีแผ่นไฟเบอร์ แล้วทำเป็นสีดำเหมือนกับผิวจอ matt white

ผิวจอ Glass Beaded มีราคาระหว่าง matt white กับ Silver Lenticular แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ปัจจุบันไม่น่าจะมีใครใช้อีกแล้ว


Silver Lenticular

ผิวจอ Silver Lenticular เนื่องจากไม่สามารถค้นหาภาพทาง Google ได้ จึงเขียนขึ้นมาเอง ซึ่งในรุ่นแรกๆที่เป็นริ้วมีเฉพาะในแนวตั้ง เพื่อให้การสะท้อนแสงในแนวนอนกว้างมากขึ้น และจงใจให้ภาพวาดแสดงริ้วในแนวตั้งให้ห่างกัน แทนที่จะค่อนข้างชิดกัน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นริ้วในแนวนอนขนาดเล็ก ที่ช่วยกระจายแสงในแนวตั้งให้กว้างขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ชมจากด้านหน้าของห้องและด้านหลังของห้อง ได้รับความสว่างใกล้เคียงกัน


ผมเข้าใจว่า ผู้ที่คิดค้นและประดิษฐ์ผิวจอนี้คือ Adele De Berri ตามที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความความรู้ที่ AV Comm (ทำลิงค์) คือเธอออกแบบให้ผิวจอเป็นริ้วในแนวตั้งชิดๆกันคล้ายหลังคาจั่ว และมีคล้ายๆกับหลังคาจั่วที่เตี้ยกว่าในแนวนอน ซึ่งรูปทรงคล้ายหลังคาจั่วนี้ จะเคลือบด้วยอลมิเนียม ที่จะสะท้อนแสงได้มากกว่าผิวจอ matt  แต่ถ้าทำเป็นคล้ายหลังคาจั่ว จะทำให้แสงสะท้อนตรงมาเกิดเป็นฮอดสเปอด แต่ถ้าทำเป็นผิวเรียบไม่เป็นริ้วคล้ายหลังคาจั่ว แสงที่สะท้อนจะเป็นเส้นตรงไม่ฟุ้งกระจาย ทำให้เห็นเป็นฮอดสปอต การทำเป็นริ้วคล้ายหลังคาจั่วในแนวตั้ง จะทำให้แสงกระจายไปด้านข้างมากถึง 120 องศา ส่วนที่คล้ายหลังคาจั่วเล็กๆในแนวนอนนี้ จะสะท้อนแสงให้กว้างขึ้นในแนวตั้งเล็กน้อย ทำให้คนที่นั่งในหน้าห้องกับหลังห้องได้รับแสงที่สว่างใกล้เคียงกัน ในสมัยนู้นผิวจอ Silver Lenticular ใหญ่สุดจะมีเพียง 70x70 นิ้ว และต้องขึงให้ตึง ดังนั้นด้านหลังของฝืนจอนี้ จึงเป็นผ้าที่ทออย่างหนา อย่างกับผ้าเดนิมที่ใช้ในกางเกงยีนส์ หากใช้กับโครงจอชนิด 3 ขาหยี่งตั้งพื้น สปริงที่ใช้ม้วนเก็บฝืนจอก็จะดึงให้ฝืนจอตึง แต่ถ้าเป็นชนิดมือดึงฝืนจอที่ห้อยลงนี้จะะดึงให้ตึงด้วยน้ำหนักของฝืนจออย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องมี tension arm ซึ่งเหมือนกับแขนของคนที่มีข้อศอก ที่เขาเอาปลายของแขนนี้ยันกับมือดึง และดันให้ข้อศอกนี้ล็อคในตำแหน่งที่กางออกเต็มที่ ทำให้ฝืนจอตึง และเราจะไม่เห็นการใช้ผิวจอ ที่ใช้กับ sมอเตอร์ แต่มีคนไทยสั่งซื้อฝืนจอ Silver Lenticular ที่กว้าง 70 นิ้วแล้วมาต่อในแนวนอน แทนที่จะเป็นแนวตั้ง เพราะการต่อในแนวนอนจะไม่ปรากฏสีเข็มเด่น เหมือนกับเย็บในแนวตั้ง เพราะรอยต่อจะไม่ปรากฏเด่นชัดมากนัก เท่ากับเหมือนการเย็บมาในแนวตั้ง ซึ่งตามความจริงแล้วเขาห้ามต่อในลักษณะนี้ การทำแบบนี้ ทำให้มุมสะท้อนแสงในแนวราบแคบลงมากๆ และความสว่างก็จะลดลงด้วย เพราะแสงถูกสะท้อนไปทางเพดานและบนพื้นมากเกินไป

 

         
ตามคำวิจาณ์ที่มีคนพูดเกี่ยวกับผิวจอ Silver Lenticular เขาบอกว่าจะให้ภาพที่หยาบกว่าผิวจอ matte white และ glass แต่ในสมัยโน้นผมมองไม่ออก อาจเป็นเพราะว่าผมสายตาไม่ดีตั้งแต่เกิด อย่างเช่น แต่ก่อนนี้ผมมองไม่ออกว่าหนามขนุุนต่างจากหนามทุเรียนอย่างไร ใส่เสื้อกลับตะเข็บกลับไม่กลับตะเข็บต่างกันต่างไร ใส่รองเท้าผิดข้างซ้ายกับขาวต่างกันอย่างไร แต่พอมาถึงยุคที่เราใช้โปรเจคเตอร์ชนิด LCD ที่มีตัวอักษรเล็กมากๆ ผมจึงเริ่มหนังเกตถึงความหยาบของปผิวจอขนิดนี้          
ผมจำได้ว่าเคยเจอในงานนิทรรศการงานหนึ่ง ที่ผู้ออกงานเอาโปรเจคเตอร์ของ Sony รุ่นที่เก่ามากๆแล้ว 5-6 ปี ซึ่งในสมัยนู้น โปรเจคเตอร์ LCD จะเสียเร็วมาก ด้วยหลายสาเหตุ เช่น แผ่น LCD ไม่ทน คอนดักเตอร์เสื่อม และตัวจ่ายไฟเสียง่าย แต่โปรเจคเรอ์ Sony เครื่องนั้นก็ยังฉายได้ดี และเขาเอามาฉายบนจอ ที่มีผิวเป็น Silver Lenticular ที่ผมไม่ได้เจอมานานลายๆปีแล้ว ซึ่งัมนทำให้เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพ โดยเฉพาะหากเป้นภาพวิดีโอที่มีการซูมเข้าซุมออก เพราะเราจะเห็นภาพเปลี่ยนสีเป็นสีรุ้งเป็นวง ผมจึงเอากระดาษขาวไปบังหน้าจอไปบอกพนักงานหญิงว่า ไม่ควรใช้กับโปรเจคเตอร์ที่ใช้แผงสร้างภาพ LCD แล้วชี้ให้พนักงานดูว่า ปัญหาของภาพที่เห็นแต่เดิมนั้นจะหายไป เมื่อดูบนกระดาษสีขาว แต่พนักงานคนนั้นไม่เข้าใจเรื่องที่ผมอธิบาย เธอจึงทำเฉยๆ
          ปัญหาของการใช้ LCD ฉายบนจอที่มีผิวเป็นโลหะคือ LCD จะใช้ฟิวเตอโฟลาไลในการทำให้ภาพมืด หากแสงที่ฉายออกมานั้น ฉาบไปบนผิวจอทั่วๆไปจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะผิวของฝืนจอจะไปดีโพลาไลคลื่นแสง แต่ผิวจอที่เป็นโลหะจะไม่ดีโพลาไลคลื่นแสง ซึ่งเหตุนี้เองที่ทำให้ภาพที่มีการซูมเข้าซูมออก จะเกิดปฏิกิริยาเป็นคล้ายๆวงสีรุ้ง แต่แสงที่ออกมาเมื่อมากระทมบกับผิวจอที่เป็น Silver Lenticular ที่เป็นโลหะ โหละจะไม่ดิสโพลาไลแสง ทำให้เมื่อภาพที่มีการซูมเข้าซูมออกจะเกิดปฏิกิริยาสีรุ้งวูบๆวาบๆ แต่ปัจจุบันผิวจอ Silver Lenticular ได้เลิกผลิตไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่ายังใช้กับรีงภาพยนตร์อยู่หรือเปล่า เพราะสมัยก่อนเครื่องฉายภาพยนต์ จะให้แสงที่ไม่ค่อยสว่างนัก จำเป้นต้องปิดไฟให้มืดสนิท และต้องใช้ผิวจอ Silver Lenticular เพื่อให้ภาพที่ฉายมีความสว่างเพียงพอ (แต่ที่ผมเคยเดินขึ้นไปดูจอภาพฉายในโรงภาพยนต์อย่างใกล้ชิด ผมพบว่าเขาใช้จอ Silver Lenticular จึงๆ แต่ออกเป็นสีทอง ก็ไม่แน่ใจว่าแสงจากโปรเจคเตอร์ออกเป้นสีฟ้ามากไปหรือเปล่า จึงต้องแก้ด้วยสีของผิวจอ) ดังนั้นคนจึงชอบบอกว่า ถ้าเป็นดาราภาพยนตร์จะเรียว่าดาราจอเงิน แต่ถ้าดาราโทรทัศน์จะเรียกว่าดาราจอแก้ว จอ Silver Lenticular นี้จะให้มุมสะท้อนที่ 120 องศา และค่า Gain เท่ากับ 2  ผิวจอ Silver Lenticular นี้สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ แม้จะมีราคาแพงกว่าผิวจอชนิดอื่น แต่ด้วยความสามารถในการสะท้อนแสงจึงเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ หากเขามีงบประมาณมากพอ

 

Mate while ชนิดยืดได้
ฝืนจอเหล่านี้จะใช้กับโครงอย่างที่เรียกว่า EZ-Fold (ลิงค์) เพราะเขาใช้วิธีขึงโดยการติดมุดแป็กกับเฟรมจอ ซึ่งการที่ฝืนจอสามารถยืดได้ ทำให้ฝืนจอมีความตึงทั้ง 4 ด้าน จึงไม่มีการฉาบด้วยไฟเบอร์กาส หากใช้กับจอที่ม้วนเก็บด้วยมอเตอร์ แทบโลหะที่ติดปลายจอด้านล่างจะหนักกว่าจอทีม้วนเก็บด้วยมอเตอร์ทั่วๆไป เพราะเขาต้องการให้ฝืนจอตึง และด้านข้างทั้งซ้ายและขวาเขาทำเป็นคล้ายๆรูเข็มขัด ที่ภายในร้อยด้วยลวดสลิง ที่จะทำหน้าที่ดึงให้ฝืนจอด้านข้างตึง ซึ่งจอพวกนี้เขาเรียกว่า Tap tension แต่ผิวจอนี้เท่าที่พบจะมีอายุสั้นหน่อย เพราะใช้ไปแล้วผิวจอจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ที่ใช้กับ EZ-Fold เวลาเขาเก็บฝืนจอเขาใช้วิธีพับ ซึ่งเมื่อพลี่แล้วจะปรากฆรอยพับ แต่เวลาฉายจะมองไม่เห็นรอยพับนี


ผิวจอ gray screen
เป็นจอที่ฉายสำหรับด้านหน้า สีเทา ที่ช่วยภาพมีคอนทราสสูงขึ้น ทำให้สีดูมีความอิ่มดูสดใส กว่าผิวจอ matt while ตามความเข้าใจของผมส่วนที่โดนแสงจะสะท้อนได้ดี แต่ส่วนที่ไม่ถูกแสงก็จะดูมืดกว่าผิวจอ matt white ทำให้ภาพมีคอนทราสได้ดีขึ้น ซึ่งหมายความว่าจะมีสีที่อิ่มขึ้น (colour saturated)  และทราบว่ามีคาวมนิยมใช้ใน home theatre และผิวจอแบบนี้ก็จะมีราคาสูงกว่า matt while มากพอสมควร แต่จอชนิดนี้มีค่า Gain เท่ากับ 0.7 ดังนั้นเวลาเลือกเครื่องฉาย ก็ควรจะเลือกเครื่องฉายภาพที่สว่างมากขึ้น 30-50%

 


High gain
 ความจริงผิวจอ High gain ส่วนหนึ่งจะเป็นแบบจอแข็งม้วนเก็บไม่ได้ แถมบางรุ่นยังเป็นโค้งแบบกระทะ แต่จอพวกนี้จะให้ gain ที่สูงมากๆ เช่น 6 จนถึง > 10 ส่วนจอ h ที่สามารถม้วนเก็บได้จะเป็นจอ จำพวก Silver ที่ไม่เป็นริ้ว ซึ่งผิวจอชนิดนี้จะละเอียดมากๆแต่ไม่เป็นเงา จึงไม่ทำให้เกิดฮอดสปอต จึงใช้ได้ดีกับโปรเจคเตอรืที่มีความละเอียดสูง ที่สามารถม้วนเก็บได้ แต่ gain ไม่สุงมากนักเท่ากับจอแข็งและโค้งแบบโค้งกะทะ ซึ่งประโยนช์ของจอแบบนี้คือ ไม่ต้องใช้โปรเจคเตอร์ที่สว่างมากๆและมีราคาสูงมากๆ แต่มีปัญหาเรื่องมุมสะทเอนแสงที่แคบกว่า m
          เนื่องจากผิวจอชนิดนี้เป็นโลหะที่จะไม่ทำให้เกิดการดีโพลาไลแสง จึงเหมาะกับกับภาพยนต์ 3 มิติ แบบ passive  ที่ใช้แสงโพลาไลแยกภาพสำหรับตาข้างซ้ายและตาข้างขวา ในระนาบตั้งฉากกัน ซึ่งหากใช้โปรเจคเตอร์คู่ก็จะทำให้ภาพสว่างดีมาก และแว่นตาชนิด ฟิวเตอร์โฟลาไน ก็มีราคาถูกกว่าชนิด แอททีฟมากๆ
          ผมเคยไปดูภาพยนต์ 3 มิติที่อควาเลี่ยมสัตว์น้ำที่อยู่ใต้ถุนศูนย์การค้าสยามพาราก้อน ก่อนเขาฉายจากด้านหลัง ด้วยเครื่องฉายซันโย ปรากฏว่าภาพไม่เป้น 3 มิติเลย แถมไม่มีสีด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าจอที่เขาฉายนั้นไมใช่ชนิดที่จะดีโพลาไลนแสง เนื่องจากเครื่องฉายเครื่องฉายเขาไม่สว่างพอ เขาจึงปรับภาพให้สว่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ภาพไม่มีสี 

จอที่ให้เสียงผ่าน
          สมัยก่อนฝ่ายของบริษัทแบคแอดไวท์ ซึ่งถือว่าเป็นยักษืใหญ่ในวงการโสตทัศน์ปกรร์ บอกผมว่าโรงภาพยนตร์เขาใช้จอ Silver Lenticular ที่ใช้ในโรงภาพยนต์จะมีรูพรุน ผมก็ถามเขาว่ารูเหล่านั้นมีไว้ทำอะไร เขาบอกว่าทำให้ภาพยิ่งสว่างขึ้น ซึ่งมันตรงกันข้ามกับความรู้สึกของผม เพราะมันเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อฝืนจอมีส่วนที่สะท้อนแสงน้อยลง แต่กลับทำให้ภาพสว่างขึ้น  เพราะยิ่งฝืนจอมีส่วนที่สะท้อนแสงน้อยลง แล้วจะทำให้แสงสว่างมากขึ้นได้อย่างไร ต่อมาผมถึงทราบว่า Adale De Berri ที่เป็นคนค้นคิดจอ Silver Lenticular ก็ได้เป้นคนค้นคิดเรื่องทำฝืนจอเป้นรู เพื่อให้เสียงผ่าน
โปรดทราบว่าเวลาเราไปดูภาพยนตร์ เสียงส่วนใหญ่ควรจะมาจากจอภาพฉาย ส่วนในภาพแม้คนหนึ่งจะอยู่ที่ขอบจอด้านหนึ่ง ส่วนอีกคนก็อยู่ที่ขอบจออีกด้านหนึ่ง ในเมื่อในหน้าของทั้ง 2 คนนี้อยู่ในจอ เสียงก็ควรมาจากจอ ไม่ใช่เสียงที่ออกมาจากลำโพรงที่เลยจอไปด้านซ้าย อีกอีกคนหนึ่งที่เสียงออกมาจากลำโพรงที่อยู่เลยไปทางด้านขวาของจอ เว้นแต่ภาพยนต์ชนิดเซอราวซาว ที่เป็นเสียรอบทิศ ซึ่งผู้สร้างแสนจะจงใจทำให้เกิดเอฟเฟคอย่างนั้น เช่น อย่างในหนังเจมส์บอนเรื่องหนึ่ง อยู่ๆพระเอกก้ขับรถออกจากจอวิ่งไปอ้อมด้านหลัง และกลับมาใหม่อีกเป็นวงกลมดูไม่มีเหตุผล แต่ทำให้เขาได้สร้างเอฟเฟคเสียงว่าเป็นเสียงเซอราวจริงๆ เพียงแต่ว่า ผู้สร้างเขาต้องการผู้ชมได้รับอัถรสถึงความเป็นเสียงเซอราว หรืออย่างบางเรื่อง ก็ต้องมีเสียงเครื่องยินข้ามหัวไปข้ามหัวมา หรือเสียงฝ้าผ่าที่อยู่เหนือศีรษะ เป็นต้น ปัจจุบันมีฝืนจอที่เขาบอกว่าเป็นผ้าทอ ที่ให้เสียงทะลุผ่านโดยไม่ทำให้เสียงเพี้ยน เหมือนกับชนิดเจาะรู (perforation) ก็มีผู้เชียวชาญด้านภาพท่านหนึ่ง ก็เถียงว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นคนอื่นมาถามผม ผมก็บอกว่าอาจจะเป็นผ้าชนิดที่เขาใช้ขึงหน้าตู้ลำโพรง ที่ให้เสียงผ่านได้โดยไม่ผิดเพี้ยน แต่นี้ก็เป็นเพียงการเดาของผมนะครับ ผ้าที่ใช้ขึงหน้าตู้ลำโพรงเหล่านี้ เขาเรียกว่า sound transparent คือโปร่งเสียงไม่ใช่โปร่งแสง

 

จอที่ฉายจากด้านหลัง
          ผมเคยอ่านบทความบนอินเทอเน็ตของผู้เขียนท่านหนึ่ง บอกว่าฝืนจอที่ฉายทะลุจากด้านหลังจะมีค่าความสว่างเป็น gain เท่ากับ 5 การพูดอย่างนั้นคือว่าไม่ถูกต้อง เพราะผมเคยขายฝืนจอที่ฉายจากด้านหลัง สำหรับโครงจอ EZ-fold ซึ่งเป้นฝืนจอนิ่ม ถ้าเป้นยี่ห้อที่ดังมากคือ Polar coat ค่า g เขาจะเท่ากับ 0.5 เท่านั้นเอง แต่ส่งหนึ่งที่คนหลายคนไม่เคยรู้ แม้กระทั่งคนของบริษัทโกดักประเทศไทยก็ไม่รู้ คือภาพที่เราเห็นจากแสงที่ทะลุมาจากด้านหลังจอ จะมีค่า contrant สูงกว่าแสงทีฉายจากด้านหน้าและสะท้อนกลับมา (reflex)  จึงทำให้ภาพที่ฉายจากด้านหลังดูสดใสกว่าแม้จะมืด ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่สังเกตเห็น เพราะอีกประการหนึ่งปราสาทตาของเรา จะช่วยปรับค่า contrant ที่มาจากแสงด้านหน้าและด้านหลังต่างกันเท่าไหร่  แต่ถ้าเป็นจอแข็งหรือเป็นชนิดที่เป็นฟิล์มติดกระจก ก็สามารถมี gain ถึง 5 หรือ 6 ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า ยิ่งค่า gain สูงเท่าไหร่ มุมสะท้อนก็จะยิ่งแคบลงเท่านั้น
          ที่ผมบอกว่าคนขอโกดักประเทศไทยไม่มีความเข้าใจ เรื่องแสงแบบทะลุและแสงแบบสะท้อน ให้ค่า contrant ต่างกัน ก็เพราะว่า โกดักผลิตฟิล์มที่ใช้กอปปี้สไลด์ ให้เหมาะกับแสงที่ฉายทะลุมาจากด้านหลัง แต่คนของบริษัทโกดักประเทศไทย ก็นำเอาฟิล์ม ที่ฉายนจากแสงสะท้อนมาใช้ถ่ายแทน ทำให้ภาพที่กอปปี้มามี contrsant จัด เมื่อผมขอให้เขาฟิล์มที่ถ่ายกอปปี้จากต้นฉบับสไลด์ คือให้เหมาะกับแสง ทราสมิสติด เขาก็นำ type L เข้ามา ซึ่งฟิล์ม type L นี้มี ออกติมั่ม เอกโพเชอ ที่ประมาณ 1 วินาที แต่เขากลับไปแนะนำให้ใช้กับไฟเฟรช ที่มีช่วงความสว่างประมาณ 1 ส่วน 50000 วินาที ซึ่งอันนั้นเหมาะกับฟิลม์ type s แต่ถ้าต้องใช้ถ่ายแบบนั้นจริง ก็ต้องทำให้ฟิลม์ fog ซึ่งจะทำให้ fog ก่อนถ่ายหรือทำให้ fog หลังถ่ายก็ได้ เพื่อทำให้ contrant ลดลง ทั้งๆที่เป้นความไม่รู้ของคนโกดัก และเขาเห็นว่าผมแก้ปัญหาอะไรได้ เขากลับมาต่อว่าผมเป็นคนที่พยายามทำลายโกดัก ไม่รู้จะบ้าบอไปอะไร เขาบอกว่าถ้าผมร้อะไรเกี่ยวกับสินค้าโกดัก ต้องไปแจ้งให้เขาทราบ ไม่เช่นนั้นเขาจะถือว่าผมจงใจที่จะทลายชื่อเสียงของบริษัทโกดัก นั้นมันอะไรกันนักหนา คนของโกดักควรจะรู้เรื่องสินค้าของเขา มากกว่าคนอื่นเช่นผม
          เนื้อจอฉายจากด้านหลัง นอกจากมีชนิดนิ่มแล้วก้ยังมีชนิดแข็ง บางยี่ห้อใช้กระจก ซึ่งเร่าสามารถสั่งเป็นกระจกธรรมดา กระจกแข็ง (tempered glass) หรือแม้กระทั้งกระจกกันกระสุน การเคลือบน้ำยาก็มีทั้ง g ที่ต่ำ แต่มีมุมมองที่กว้าง ไปจนถึง g ที่สูงแต่มีมมุมมองที่แคบ และเขายังรับเคลือบผิวจอกันเป็นรอยขีดขวนง่าย
          แต่มีจอยี่ห้อหนึ่งเป็นขอเดนหมาก คือยี่ห้อ scan screen จากประเทศเดนหมาก เขามีทั้งรุ่นที่เหมาะกับโปรเจคเตอร์ชนิด crt 3 เลนส์ฉาย แดง เขียว น้ำเงิน ที่เขาทำเป็นเลนส์ฟรีเนลเลนส์ (ลิงค์) สำหรับภาพแต่ละหลอดฉาย และยังมีรุ่นที่เขาเรียกว่าอะไรผมจำไม่ได้ ไม่ทราบว่า แบคสกรีน หรือแบคไดมอนสกรีน ที่เหมาะกับภาพวิดีโอ และต่อมาก็มีรุ่นที่เหมาะกับการใช้กับเครื่องฉาย LCD ที่ใช้เลนส์เดียว
ต่อมาเขาก็ขายกิจการของเขาให้กับบริษัท dai Nippon printing (Dnp)
หลังจากเขาขายกิจหารให้กับ dnp แล้ว โดยมีสัญญาว่าจะไม่ทำธุรกิจมาแข่งขันกับ Dnp ใน 5 ปี เขาก็จะใช้เวลาในช่วงคริสมาสทุกปีมาเที่ยวที่ภูเก็ต โดยจะมาพักที่โรงแรมแชงกาลีน่าที่กรุงเทพพร้อมครอบครัวทุกครั้ง   แต่เป้นที่น่าเสียดายว่า ผมไม่ได้ข่าวจากเขาอีกเลยหลังจากเกิดสินามิที่ภูเกีตหลายปีก่อนโน้น และไม่ทราบว่าเขายังมีชีวิตอยุ่หรือไม่ เพราะบริษัทที่เขาตั้งขึ้นหลังจากขายบริษัทให้กับ dnp ก็หายไปจากอินเทอร์เน็ต
          ปัจจุบันโปรเจคเตอร์สามารถติดตั้งที่ไหนบนฝ้าเพดาน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องคอนโทรนหรืออะไรแบบนั้น ทำให้ความนิยมของการฉายภาพจากด้านหลังเหลือน้อยมากเต็มที่

 

ambient light rejecting screen (ALR)
เป็นจอที่ไม่ให้แสงที่สว่างภายในห้อง เช่น แสงจากโคมไฟเพดาน ไปรบกวนภาพที่ฉายบนจอ หลักการของเขาก็คล้ายๆกันสาดเหนือหน้าต่าง ที่ไม่ให้แสงจากโคมไฟดาวไลส่องไปที่ฝืนจอ เพราะจะถูกบังด้วยกันสาดที่มีขนาดเล็กระยิบระยับ คล้ายๆแถบสามเหลี่ยมในแนวนอนทั่วทั้งฝืนจอ แต่ฝืนจอชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นจอแข็ง และออกแบบมาสำหรับโปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น โดยวางตำแหน่งโปรเจคเตอร์ด้านหน้าและค่อนข้างจะชิดกับจอฯ ซึ่งโปรเจคเตอร์นี้จะอยู่ที่ขอบล่างของจอไม่ใช่บนเพดาน แต่ก็มีบางรุ่นออกแบบมาให้กับโปรเจคเตอร์ที่ติดอยู่ใต้ฝ้า ในระยะที่ห่างจากจอพอสมควร หรือฉายจากด้านหลังจอ จอแบบนี้มีราคาแพงมาก และมักมีค่า g เท่ากับ 0.7 แต่อาจมีบางยี่ห้อที่สามารถม้วนเก็บฝืนจอได้  
ตามความเห็นของผม ผู้ใช้ควรจะเปรียบเทียบประโยชน์ของจอชนิดนี้กับชนิด High Gain เพราะจอนิด High Gain ก็ทำหน้าที่คล้ายกับ ALR คือ แสงที่มาจากเพดาน เมื่อกระทบกับฝืนจอจะสะท้อนลง ไม่พุ้งกระจายกลับเข้าสู่ผู้ชม จึงไม่ทำให้ภาพดูจืด ซึ่งผู้ที่จะใช้ก็ต้องมาชั่งน้ำหนักระหว่างจอชนิด ALR กับชนิด High Gain ให้ดี


          บทความจอภาพฉายตอน 2 นี้ก็เช่นเดียวกับ จอภาพฉายตอน 1 คือไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีฝืนจอให้ครบทุกชนิด แต้ถ้าใครเห็นว่าควรเพิ่มเติมชนิดอื่นๆที่ท่านทราบ และอยากให้เผยแพร่ ก็ขอได้โปรดส่งบทความมา เพื่อพิจารณานำมาเผยแพร่กับบทความนี้

 

 

นายตาถั่ว  คลำช้าง
(25 /03 /63)

 


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231