ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

จอฯภาพฉายตอน 1 การแบ่งชนิดของโครงจอฯ


     เมื่อผมเข้ามาทำธุรกิจโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการศึกษาอย่างจริงจังใน พศ. 2512 ในยุคแรกๆนั้นคนจะเรียก projection screen เป็นภาษาไทยว่าจอฉายภาพ ต่อมาคงจะมีคนสังเกตว่า จอไม่ได้ฉายภาพจึงพยายามกำเนิดชื่อเป็นภาษาไทยตามแต่ว่าใครจะเห็นอย่างไร เช่น ฉากสกีน จอโปรเจคเตอร์ แล้วในที่สุดก็มาลงทีจอรับภาพ

     สำหรับผมแล้ว ผมรู้สึกว่าคำว่าจอรับภาพฟังแล้วแม้งๆอยู่ เพราะฟังแล้วเหมือนกับว่าเราโยนภาพไป แล้วใครเอาผืนจอมากางรับ ผมจึงพยายามหาคำที่เหมาะสมกว่านี้แต่ก็หาไม่ได้ จึงกลับไปที่ภาษาอังกฤษใหม่ ที่เรียกว่า projection screen แล้วแปลออกมาตรงตัวเป็นภาษาไทย ก็จะได้คำว่าจอภาพฉาย หรือถ้าจะให้ชัดเจนกว่านั้น ก็เขียนเป็นจอสำหรับภาพฉาย ทำให้เรารู้ว่าภาพบนจอนั้นเป็นภาพฉาย

     คนส่วนใหญ่กลับไม่เห็นตามผม ทุกคนบอกว่าชื่อจอรับภาพนั้นชัดเจนมากแล้ว หากเรียกว่าจอภาพฉายพวกเขาบอกว่าฟังแล้วสับสน แม้แต่ลูกน้องของผมเองก็เห็นเช่นเดียวกับคนทั้งหลาย โดยหาว่าผมชอบเถียงกับใครไปทุกเรื่อง กระนั้นก็ดีผมก็จะยังเรียกว่าจอภาพฉายอยู่ดี เพราะผมพบว่าคนรุ่นหลังเมื่อมีใครเรียกสิ่งของสิ่งหนึ่งว่าอะไรก็จะเรียกตามๆกัน โดยไม่คำนึงถึงที่มาที่ไปของชื่อหรือเรื่องนั้น ๆ ซึ่งในบางเรื่องถึงขนาดที่ทำให้คนอ่านหลงทิศหลงทาง ดังนั้นผมจึงคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำความเข้าใจกับผู้คนทั้งหลายก็คือ เล่าเรื่องความเป็นมาเป็นไปของจอภาพฉายตั้งแต่อดีต

     เมื่อ 70 ปีก่อน เวลาที่คุณพ่อของผมจะฉายภาพยนตร์ขนาด 8 มม. หรือฉายสไลด์ จะฉายเข้าผนัง แต่ถ้าผนังไม่ใช่สีขาวก็ต้องเอาผ้าปูที่นอนมาขึงแทน หรือไม่ก็ไปซื้อจอภาพฉาย ที่มีขนาดกว้างไม่น่าจะกว้างเกิน 1.5 เมตร ขอบด้านบนและขอบด้านล่างมีแกนไม้กลมๆเล็ก ๆ เพื่อบังคับให้ผืนจอแผ่กางออก และแกนล่างยังมีหน้าที่ถ่วงน้ำหนักให้ผืนจอตึง ส่วนผืนจอฯทำจากแผ่นพลาสติกผิวจอเป็นลายตาราง คล้ายผ้าทอสีขาว

     แต่เมื่อผมเข้าทำธุรกิจด้านโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ 2511 ก็มีจอชนิด 3 ขาหยั่ง ตั้งพื้น (tripod floor stand projection screen) ทำให้สามารถวางจอฯไว้บนพื้นหน้าตู้เสื้อผ้าได้ จอฯชนิดนี้มีกระบอกเหล็กไว้เก็บผืนจอฯที่ม้วนเก็บด้วยสปริงเมื่อไม่ใช่งาน ตรงกลางกระบอกมีเสา เมื่อดึงฝืนจอออกจากกระบอกจอฯและขึ้นไปเกี่ยวกับตะขอที่ปลายเสาบน แล้วดึงเสาให้ยืดขึ้นก็จะอยู่ในตำแหน่งการใช้งาน  แต่ถ้าพลิกกระบอกจอไปอีกด้านหนึ่ง 90 องศา เสาแขวนจอจะขนานไปกับกระบอกจอเพื่อเก็บหรือเคลื่อนย้าย ด้านล่างของเสานี้มี 3 ขาหยั่งที่จะกางออกเมื่อใช้งาน และหุบเข้าเพื่อเก็บ อย่างเดียวกับขาตั้งกล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายวีดีโอ ส่วนเสากลางนี้สามารถยืดออกเพื่อแขวนผืนจอให้สูงต่ำได้ตามต้องการ แต่ที่สามารถหดได้เพื่อความสะดวกในการเก็บหรือเคลื่อนย้าย ที่ด้านบนของปลายเสาเป็นตะขอเพื่อเกี่ยวเข้ากับกระบอกจอ เพื่อไม่ให้กระบอกจอผลิกไปผลิกมากับเสา

     ทำให้หิ้วจอฯไปไหนมาไหนได้สะดวก นอกจากนั้นก็ยังสามารถปรับตำแหน่งกระบอกจอให้สูงขึ้นหรือต่ำลงจากพื้นห้อง
ขนาดของผืนจอฯที่ใช้ในบ้านคือ 30”x30” 40”x40” 30”x50” และ 50”x50” มาตราที่ใช้วัดขนาดจอฯที่คิดเป็นนิ้วก็เพราะ จอฯที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกามีคุณภาพที่เหนือกว่าจอฯที่ผลิตในยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่อมริกาเขาใช้มาตรการวัดเป็น imperial ที่วัดขนาดเป็นนิ้ว เป็นฟุต วัดน้ำหนักเป็นปอนด์ ขณะที่ยุโรปวัดระยะทางเป็นเมตร วัดน้ำหนักเป็นกรัม วัดปริมาตรเป็นลิตร

     ส่วนสาเหตุที่จอเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็เพราะภาพสไลด์ที่แม้จะมีอัตราส่วน 3:2 แต่ภาพสไลด์มีทั้งแบบแนวตั้งที่เวลาสั่งพิมพ์จากคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า portrait และภาพแนวนอนอย่างที่เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ เรียกว่า land scape ที่แปลเป็นไทยว่าทิวทัศน์ ซึ่งจอฯที่มีขนาด 40”x40” 50”x50” นี้บางครั้งก็เรียกว่าอัตราส่วน 1:1 ส่วนจอฯมีเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็เพื่อฉายภาพยนต์ขนาด 8 มม.ที่เป็นภาพแนวนอนเพียงอย่างเดียวไม่มีภาพตั้ง ก็จะใช้จอฯที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าคือ 30”x50”

จอระดับ A/V (โสตทัศน์)
     จอภาพฉายที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ถือเป็นจอฯระดับโสตทัศน์ (a/v = audio-visual) มีความแข็งแรงมากขึ้นอย่างกับระดับอาชีพ จอฯระดับโสตทัศน์มีขนาด 50”x50” 60”x60” และ 70”x70” เพราะพวกภาพสไดล์จะมีทั้งภาพตั้งและภาพนอน แล้วภาพของเครื่องฉายแผ่นใส (overhead projector = OHP หรือเรียกว่าเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะก็มี) รวมทั้งเครื่องฉายภาพทึบแสง (opaque projector) เป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10”x10” ดังนั้นจอฯระดับนี้จึงมีอัตราส่วน 1:1 ทั้งหมด

 

     สำหรับประเทศสิงค์โปร์เขานิยมจอฯขนาด 60”x60” ส่วนคนไทยชอบอะไรใหญ่ๆก็เลือกขนาด 70”x70” ซึ่งผมก็เห็นด้วย
เนื่องจากเครื่องฉายภาพแผ่นใสตั้งอยู่ใกล้ตัวผู้สอน จึงอยู่ใกล้จอฯ ดังนั้นจอภาพฉายชนิด 3 ขาหยั่ง  จึงมี Keystone bracket เพื่อให้ผืนจอฯก้มลงตั้งฉากกับเลนส์ฉาย ทำให้ภาพที่ฉายขึ้นจอฯไม่เป็นสี่เหลี่ยมคางหมู หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Keystone    

จอภาพชนิด 3 ขาหยั่งเหมาะกับการเคลื่อนย้าย และไม่ต้องกังวนว่าจะไม่มีผนังสำหรับแขวน อีกทั้งสมัยแรกๆของการใช้โสตทัศนูปกรณ์ จะเห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้เป็นของฟุ่มเฟือยและมีราคาแพง จึงไม่มีการติดตั้งถาวรแต่จะโยกย้ายไปตามห้องเรียนต่างๆ ดังนั้นจอฯแบบ 3 ขาหยั่งตั้งพื้นจึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในช่วงแรกๆของการใช้โสตทัศน์ในประเทศไทย

 

จอภาพฉายประเภทแขวนจากเพดาน/ยึดติดผนัง
ชนิดทำงานด้วยสปริง

     ชนิดทำงานด้วยสปริงฝรั่งเรียกว่า Manual หมายถึงทำงานด้วยมือ ส่วนคนไทยเรียกมือดึง อีกคำที่ฝรั่งนิยมเรียกคือ spring roller ซึ่งผมชอบเรียกว่า จอฯสปริง ซึ่งคนไทยไม่ใช้คำเหล่านี้ คนที่ได้ยินผมเรียกว่าจอฯสปริงจะงง จอฯมือดึงนี้เหมือนกันกับจอชนิด 3 ขาหยั่งตั้งพื้น ที่มีเสากลางและ 3 ขาหยั่ง แต่แทนที่กระบอกจอฯจะอยู่ด้านล่างเหมือนจอฯชนิด 3 ขาหยั่งตั้งพื้น ก็กลับไปอยู่ด้านบนของผืนจอฯ ถ้าจะแขวนจากเพดานเขาจะมีห่วงติดไว้ที่ปลายกระบอกจอฯทั้ง 2 ข้าง แต่ถ้าจะยึดกับผนัง เขาก็มีเหล็กฉากที่มีรูเพื่อยึดติดกับผนังด้วยสกรู

     เวลาจะกลางผืนจอออกเขาใช้วิธีดึงผืนจอลงมา หากต้องการให้ผืนจอลงมาแค่ไหนก็ให้ดึงผืนจอลงมาให้หยุดในตำแหน่งนั้น แล้วค่อยๆปล่อยมือ ระบบล็อคแกนสปริงจะหยุดในตำแหน่งนั้น หากในภายหลังต้องการให้ผืนจอลดลงต่ำกว่าเดิม ก็สามารถดึงผืนจอให้ลดลงต่ำจนถึงระดับใหม่ที่พอใจ ก็ให้คอยๆปล่อยมือ ผืนจอก็จะหยุดอยู่ในตำแหน่งใหม่นั้น เมื่อต้องการจะให้สปริงม้วนเก็บผืนจอ ก็ให้ดึงลงเล็กน้อยแล้วปล่อยมือเลย เพราะหากคอยรั้งมือไว้ระบบล็อคจะทำงาน ทำให้เวลาม้วนเก็บฝืนจอ คนใช้จะพยายามรั้งไม่ให้แกนด้านล่างของฝืนจอฟาดกับกระบอกจอ การทำแบบนี้ก็เหมือนกับการไปหยุดฝืนจอ ทำให้ระบบสปริงอยู่ในโหมดหยุด ทำให้ไม่สามารถม้วนเก็บฝืนจอทั้งหมดภายในกระบอกในการม้วลเก็บครั้งเดียว ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องดึงฝืนจอลงอีกเล็กน้อย แล้วปล่อยให้สปริงม้วนฝืนจอเก็บขึ้นไปอีกครั้ง หลายครั้งฝืนจอก็ยังค้างอยู่ในตำแหน่งเดิม หรือเก็บขึ้นไปได้อีกเล็กน้อย กว่าจะม้วนฝืนจอเก็บได้หมดก็ทำให้ผู้ใช้เซงไปเลย สำหรับขนาดของฝืนจอก็มีขนาดเท่ากับชนิด 3 ขาหยั่งคือ 50”x50” 60”x60” และ 70”x70”

     ปัจจุบันจอภาพฉายที่ม้วนเก็บฝืนจอด้วยสปริงมีระบบชะลอความเร็วสปริง คือผู้ใช้เมื่อต้องการจะม้วนฝืนจอเก็บในกระบอก ก็สามารถทำได้โดยการดึงฝืนจอลงมาเล็กน้อยแล้วปล่อยมือเลย เมื่อฝืนจอม้วนเก็บจวนจะสุดระบบสปริงจะชะลอความเร็วลง ทำให้แกนล่างของฝืนจอไม่ฟาดกับกระบอกเก็บ จึงไม่มีเสียงดังเปรี้ยงปร้าง

     ความจริงจอภาพฉายชนิดแขวนเพดาน/ติดผนังที่ทำงานด้วยสปริงที่มีระบบชะลอความเร็วลง มีราคาสูงกว่าแบบธรรมดาเพียงเล็กน้อย แต่ผู้นำเข้าจะตั้งราคาให้ต่างกันหลายๆ 10% ทำให้ระบบนี้ไม่เป็นที่นิยม แต่ถ้าใครสนใจลองติดต่อที่ virasupplies ของเขาราคาใกล้เคียงกับระบบสปริงธรรมดา


ชนิดทำงานด้วยสปริงขนาดใหญ่
     จากการสังเกตของผมส่วนที่จะไปยึดแกนม้วนฝืนจอ จะถูกพยุงที่ปลายด้านซ้ายและขวาเท่านั้น หากฝืนจอมีขนาดกว้างมากขึ้น แกนก็จะรับน้ำหนักไม่ไหว จำเป็นต้องเพิ่มขนาดแกนม้วนฝืนจอให้ใหญ่ขึ้น สำหรับแกนม้วนฝืนจอที่อยู่ในจอระดับ A/V ไม่ว่าฝืนจอจะมีขนาด 50”x50” 60”x60” หรือ 70”x70” จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันหมด จะต่างกันก็เฉพาะแกนม้วนฝืนจอและกระบอกเก็บฝืนจอ ที่มีความยาวต่างกัน

     ดังนั้นจอขนาดใหญ่จะมีแกนม้วนฝืนจอที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น รวมทั้งกระบอกเก็บฝืนจอก็ใหญ่มากขึ้นไปด้วย ถ้าเป็นจอชนิดทำงานด้วยสปริง ขนาดใหญ่สุดคือ 12x12 ฟุต สาเหตุที่ไม่สามารถทำให้ใหญ่กว่านี้ได้ น่าจะมาจากกำลังของสปริง เพราะเมื่อฝืนจอมีขนาดใหญ่มากขึ้น สปริงก็ต้องแข็งมากขึ้นด้วย เมื่อมีการเหนี่ยวลงมาก็เท่ากับเราไปเพิ่มน้ำหนักให้กับแกนที่ปลายล่างของฝืนจอ และแกนม้วนฝืนจอ คนทั่วๆไปอาจจะดึงฝืนจอลงไม่ไหวเพราะไม่มีกำลังพอ  และจอที่อยู่ในขนาดนี้จะมีขนาด 60”x84” (5x7ฟุต) 72”x96” (6x8ฟุต) 9x12ฟุต และ 12x12 ฟุต

     ปัจจุบันระบบฉายภาพดั่งเดิม เช่น เครื่องฉายสไดล์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายฟิลม์สติบได้เลิกใช้แล้ว แต่หันมาใช้เป็นเครื่องฉาย TV/data (มัลติมีเดียโปรเจคเตอร์) ซึ่งในยุคแรกๆเขามีอัตราส่วนของภาพ 4:3 และนิยมวัดเป็นเส้นทแยงมุมและอีกนั่นแหละ เรายังนิยมวัดเส้นทแยงมุมเป็นนิ้ว ไม่ใช่เมตร เราจึงมีขนาด 100” 120” 150” จนถึง 200”

     ปัจจุบันภาพ TV หรือ คอมพิวเตอร์ เริ่มจะเป็นระบบจอกว้าง ถ้า TV ก็ 16:9 ส่วนคอมพิวเตอร์ก็เป็น 16:10
ปัจจุบันจอที่มีอัตราส่วน 1:1 คือ 50”x50” 60”x60” และ 70”x70” ที่ส่วนใหญ่ใช้กับต้นฉบับที่เป็นเครื่องฉายแผ่นใส และเลิกใช้ไปหมดแล้ว ดังนั้นจอเหล่านี้ผมจึงไม่แนะนำให้คนใช้จอขนาดเหล่านี้ แต่ให้เปลี่ยนไปเป็นจอที่มีอัตราส่วน 4:3 และ 9:10 แทน

ชนิดทำงานด้วยมอเตอร์
          ในจอขนาดใหญ่ที่แกนม้วนฝืนจอมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถใช้มอเตอร์ในการม้วนฝืนจอได้ ซึ่งในยุคแรกๆผมไม่ทราบว่าเขาใช้มอเตอร์ชนิดไหน แต่มันดูสั้นๆป้อมๆติดอยู่ที่ปลายด้านซ้ายหรือด้านขวาของกระบอกจอ แต่ผมว่ามันน่าจะเป็นชนิด Induction motor แบบกรงกระรอก ทำให้ปลายกระบอกจอด้านที่มีมอเตอร์ยืดยาวออกไป ทำให้เวลาติดตั้งดูเหมือนกับว่าไม่ได้ติดอยู่กลางห้อง ปัจจุบันจอฯชนิดทำงานด้วยสปริงที่มีผลิตจากประเทศจีนมีราคาถูกลงมาก แถมรุ่นที่ทำงานด้วยมอเตอร์ ก็มีราคาไม่ได้แตกต่างไปจากชนิดทำงานด้วยสปริงเท่าไหร่ ทำให้ได้รับความิยมมากขึ้น คนซื้อก็จะบอกว่า ต้องการจอมอเตอร์หรือจอที่ใช้รีโมท แต่ไม่มีใครรู้ว่าจอฯที่ทำงานด้วยมอเตอร์นั้นใช้มอเตอร์แบบไหน คนขายเองก็ไม่รู้ เลยมักตัดสินด้วยราคา  แต่ในปัจจุบันเราใช้มอเตอร์อยู่ 2 ชนิด

  1. Tubular Motor
  2. Synchronous Motor


มอเตอร์ชนิด Tubular

 

 



มอเตอร์ชนิด Synchronous

Tubular Motor
          แรกๆที่ผมรู้จักมอเตอร์ชนิดนี้เขาใช้กับผ้าม่าน จนทำให้คนที่ไม่ค่อยเข้าใจหาว่าเอามอเตอร์ที่ใช้กับผ้าม่านมาดัดแปลงให้กับจอภาพฉาย ซึ่งสมัยนู้นยี่ห้อ Somfy จากฝรั่งเศสเป็นยี่ห้อที่คนไทยรู้จักดี มอเตอร์ชนิดนี้มักมีระบบกำหนดตำแหน่งให้หยุดสูงสุดที่ต้องการและต่ำสุดตามที่ต้องการอยู่ในตัว Synchronous Motor  มีขนาดเล็กกว่า Tubular Motor มาก ตำแหน่งติดตั้งของมอเตอร์นี้จึงอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของแกนม้วนฝืนจอ เพื่อให้เกิดความสมดุล เขาจะเอาระบบกำหนดตำแหน่งหยุดสูงสุด และต่ำสุดไว้อีกปลายหนึ่งของแกนม้วนฝืนจอ ทำให้ปลายกระบอกจอทั้งซ้าย-ขาวไม่ยื่นห่างจากแนวฝืนจอเท่าไหร่ และทำให้ดูไม่ค่อยออกว่าจอฯนั้นเป็นชนิดม้วนเก็บด้วยสปริงหรือเป็นด้วยมอเตอร์ แต่ผมมีวิธีดูเพื่อจะบอกว่าจอฯนั้นเป็นชนิดม้วนเก็บด้วยสปริงหรือมอเตอร์ โดยดูที่ก้านที่ปลายล่างของฝืนจอมีมือดึงหรือไม่มี ถ้ามีก็หมายความว่าทำงานด้วยสปริง แต่ถ้าไม่มีก็เป็นชนิดทำงานด้วยมอเตอร์

     ในสมัยที่ราคาจอฯที่ทำงานด้วยสปริงมีราคาต่างจากจอฯที่ทำงานด้วยมอเตอร์มาก มีผู้ค้าคนไทยรายหนึ่งจะนำจอฯชนิดทำงานด้วยสปริงมาคัดแปลง โดยเอาระบบสปริงออกและใส่แทนที่ด้วยมอเตอร์ แล้วขายเป็นจอฯที่ทำงานด้วยมอเตอร์ปกติทั่วไป ผมเคยซื้อจากเขามา โดยตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นจอฯที่ดัดแปลง แต่เขาก็ยังส่งจอฯมอเตอร์ที่ดัดแปลงมาให้ แล้วเถียงอย่างเอาเป็นเอาตายว่าเขาไม่ได้ดัดแปลง แต่เนื่องจากผมเห็นว่าไม่ใช่เป็นเรื่องสลักสำคัญนัก ผมเลยขี้เกลียจไปเถียงกับเขา ส่วนสาเหตุที่ผมรู้ ก็เพราะว่าตรงปลายของแกนด้านล่างของฝืนจอ มีรูสกรูอยู่ 4 รู นั่นแสดงว่าเขาถอดเอาห่วงที่ใช้ดึงฝืนจอชนิดทำงานด้วยสปริงออก

     ข้อดีของ Tubular Motor คือ ทนทาน ทำให้ไม่เกิดอาการ Thermal brake ได้ง่าย คือหากจอต้องขึ้นๆลงๆบ่อยครั้งติดต่อกัน จะทำให้มอเตอร์มีความร้อน และหยุดการทำงาน อีกประการหนึ่งมอเตอร์ชนิดนี้มีกำลังสูงกว่าระบบ Synchronous Motor ทำให้ม้วนฝืนจอขึ้นและลงเร็วกว่าระบบ Synchronous Motor ซึ่งท่านอาจจะเคยเห็นจอฯที่มีขนาดใหญ่แต่กว่าจะม้วนลงมา หรือกว่าจะม้วนขึ้นเก็บ หากเป็นจอที่ทำงานด้วย Synchronous Motor จะใช้เวลานานมากจนผู้บรรยายต้องหยุดเพื่อรอให้การม้วลฝืนจอสิ้นสุดลง สาเหตุก็เกิดจากการใช้มอเตอร์ชนิด ที่มีกำลังน้อยและการทำงานช้า ส่วนจอที่ทำงานด้วย tubuler motor จะทำงานได้เร็วกว่าพอสมควร ส่วนข้อดีของ Synchronous Motor คือราคาถูกและทำงานเงียบ

     ปัจจุบันมอเตอร์ชนิด Tubular Motor มีราคาที่ไม่ได้แตกต่างกับชนิด Synchronous Motor มากมาย และการทำงานก็เงียบลง แต่ผู้ที่นำเข้าจอฯชนิดที่ทำงานด้วย Tubular Motor ไม่ได้เลดราคาลง อีกทั้งผุ้ที่นำเข้าจอฯชนิดที่ทำงานด้วย Synchronous Motor ที่แต่ก่อนเขาเบ่งราคาให้ขึ้นไปใกล้เคียงกับจอฯที่ทำงานด้วย Tubular Motor ก็ไม่ได้ลดราคาลง แต่มีข้อน่าสังเกตุอยู่อันหนึ่งว่าจอฯที่ใช้ Synchronous Motor จะมีขนาดใหญ่สุด

     ข้อเสียของมอเตอร์ชนิดนี้คือมีราคาแพงกว่า Synchronous Motor เยอะ แต่ปัจจุบันราคาจะไม่แพงจนให้ยากต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหนดี ประการที่สอง Tubular Motor มีเสียงการทำงานที่ดังกว่า Synchronous Motor แต่ปัจจุบัน Tubular Motor เงียบลงมากจนไม่น่าจะเป็นปัญหากับผู้ใช้

     ก่อนที่ผมจะเกษียรการทำงานไป ช่วงนั้นจอภาพฉายที่มีอัตราส่วน 4:3 ที่มีขนาดเส้นทแยงมุมไม่เกิน 180” จะมีให้เลือกทั้งชนิดที่ใช้มอเตอร์ชนิด Tubular Motor และ Synchronous Motor แต่ถ้ามีขนาดตั้งแต่ 200” ขึ้นไปจะเป็น Tubular Motor และที่ผมเคยเห็นขนาดใหญ่สุดก็จะเป็น 300”

     ในประเทศไทยผู้นำเข้าจอภาพฉายแบบทำงานด้วยมอเตอร์เกือบทั้งหมดจะใช้ S และเขาจะเบ่งราคาให้ต่ำกว่าชนิด Tubular Motor เพียงเล็กน้อย ทำให้เขาได้กำไรมาก ส่วนผู้ค้าปลีก ผู้ติดตั้ง รวมทั้งผู้ซื้อ ไม่เคยทราบถึงปัญหานี้ เวลาเขาซื้อหรือเวลาเขาขายแค่บอกว่าจอมอเตอร์ หรือจอฯที่ใช้รีโมท ก็ไม่มีใครสอบถามต่อ แต่สำหรับผมหากเป็นลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด ผมจะแนะนำให้ใช้มอเตอร์ชนิด Tubular Motor เพราะ Synchronous Motor จะเสียง่ายกว่า หากขนกลับมาซ่อมที่กรุงเทพฯและขนกลับไปใหม่ จอฯจะช้ำมากเกินไป ไม่คุ้ม

     ความจริงแล้วสมัยที่ยังใช้เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนต์ หากใครต้องการจอฯชนาด 50”x50” 60”x60” และ 70”x70” ที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เขาก็จะเอาจอขนาดใหญ่มาทำให้เล็กลง แต่ราคาโอ้โหไม่คุ้มเลย และไม่น่าจะมีใครใช้


จอกรอบอลูมิเนียม
          เมื่อ 40-50 ปีมาแล้ว ผมได้นำจอฯ ยี่ห้อ Wilcox Lange จากอเมริกาเข้ามาจำหน่าย จอฯจะเป็นจอที่มีเฟรมเป็นอลูนิเนียมคุณภาพสูง น่าจะเป็นเกรดเดียวกับที่ใช้สร้างเครื่องบิน เป็นท่อสี่เหลี่ยมขนาด 1x1” ตัวเฟรมจะพับไปพับมาได้ เมื่อจะขึงให้ตึงเขาจะมีแผ่นสลักมาดามให้ตึงอยู่กับที่ โดยไม่ต้องใช้ไขควงหรือประแจ ส่วนขาตั้งก็เป็นเช่นกัน แต่การยึดกับตัวเฟรมขึงจอเขาใช้สกรูยาวๆ ที่ด้านหนึ่งจะทำให้หักไปหักมา ใช้เป็นเหมือนกับที่หมุนสกรูโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ จำพวกไขควงประแจ ฝืนจอเขามีให้เลือกใช้ฉายจากด้านหน้าและด้านหลังของโครงจอได้ ซึ่งฝืนจอที่ใช้กับจอฯชนิดนี้ แม้ว่าเวลาพับเก็บจะเป็นรอย แต่เวลาฉายแล้วจะมองไม่เห็นรอยพับรอยย่น การขึงจอที่ขอบจอฯจะมีกระดุมแป๊กทั้ง 4 ด้านของฝืนจอ ที่จะไปยึดติดกับเฟรมอลูมิเนียม เฟรมชนิดนี้จะไม่มีเสาอะไรไปอยู่ในตำแหน่งของจอภาพ ฉะนั้นเฟรมของจอฯชนิดนี้จึงต้องแข็งแรง ฝืนจอต้องสามารถยืดหดได้ เพื่อใช้ฝืนจอมีความตึง โดยเฉพาะฝืนจอที่ฉายจากด้านหลัง จำเป็นจะต้องตึงทุกด้าน สมัยก่อนที่ยังใช้สไลด์ที่มีอัตราส่วน 3:2 ขนาดจอฯใหญ่สุดก็คือ 9 x 12 ฟุต แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่กว่านั้น หรือเป็นจอกว้างฟาโนราม่า 9 x 24 ฟุต ทั้งโครงจอและขาตั้งจอฯต้องมีทรัช เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

          ต่อมาบริษัท Da-lite เขาใช้เฟรมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้จอที่มีขนาดใหญ่ไม่ต้องมีทรัช ช่วยให้ราคาถูกลง และมีของประเทศออสเตเรีย เขายิ่งใช้ท่ออลุมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก แต่เขาใช้วิธีต่อเสาด้วยการเสียบเข้าด้วยกัน ทำให้ยี่ห้อนี้มีขนาดจอที่ใหญ่ขึ้นไปอีกเยอะเลย

          ผมเคยถามโรงงาน screen work จากประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ว่าชื่อเดิมของเขาใช่ Wilcox Lange  ไหม เขาบอกว่าใช่ เขาซื้อมา และผมต่อถามต่อว่า เขาเป็นบริษัทแรกของโลกที่ผลิตจอชนิดนี้ใช่ไหม เขาบอกว่าเขาเป็นรายที่ 2 แต่ไม่ทราบว่ารายแรกคือใคร และปัจจุบันผมก็ไม่ได้พบบริษัทนี้อีกแล้ว         

ปัจจุบันจอชนิดนี้มักนิยมเรียกว่า EZ-Fold ตามรุ่นของบริษัท Screen work และได้รับความนิยม โดยเฉพาะในห้องประชุม เพราะเป็นจอที่มีขนาดใหญ่ สามารถฉายได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไม่ล้มง่าย รวมทั้งเป็นผู้ที่ให้เช่าจอภาพฉายในงาน event ต่างก็นิยมให้เช่าจอแบบนี้กัน

 

จอชนิดวางกับพื้นมือดึงขึ้น

 

     เป็นจอที่กระบอกจอวางกับพื้นด้านล่างจะมีแผ่นพลาสติก ที่พับให้ขนานกับกระบอกจอเมื่อเก็บ และตั้งฉากกับกระบอกจอฯเพื่อพยุงไม่ให้ฝืนจอล้มขณะใช้งาน การใช้งานก็เปิดฝาออกมาตลอดความยาวของกระบอกจอฯ แล้วชักฝืนจอขึ้น ที่มีเฟรมเป็น Pantograph แล้วมีโช๊คคอยพยุงให้อยู่ตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าเป็นรุ่นที่ดีหน่อยฝืนจอเขาจะทำด้วย PET จอฯมีความกะทัดรัด น้ำหนักเบา เหมาะที่จะขนย้ายด้วยรถยนต์มากกว่า 3 ขาหยั่ง และดูหรูหรากว่าจอฯตั้งพื้นมือดึง จอขนาดนี้มีขนาดไม่ค่อยใหญ่ เท่าที่ผมจำได้มีขนาด 100” 4:3 แต่ขณะที่เขียนนี้ผมไม่ได้ไปค้นดูว่าตอนนี้มีขนาดเท่าไหร่

จอชนิดวางกับพื้นทำงานด้วยมอเตอร์
     ครั้งแรกที่ผมได้เห็นจอแบบนี้ ออกแบบโดยบริษัท Mw จากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นต้นแบบของจอชนิดวางกับพื้นมือดึงที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ที่ด้านหลังมีโครงแผนโทรกราฟ แต่แทนที่จะใช้โช๊คก็ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อน ในยุคแรกๆ Mw ผลิตจอชนิดนี้ใหญ่สุดเพียง 120” 4:3 แต่ปัจจุบันไม่เห็นแล้ว แต่มีโรงงานอื่นผลิตโดยมีรูปร่างเหมือนกับจอชนิดวางกับพื้นมือดึง แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่ขึ้น ปลายด้านหนึ่งจะมีล้อไว้ลากเพื่อการเคลื่อนย้าย การที่เป็นจอชนิดเคลื่อนย้ายได้และมีชนาดใหญ่ ผมว่ามันเหมาะกับการใช้เป็นจอเสริม อย่างเช่นในห้องประชุม ที่มีระบบฉายภาพหลักอยู่แล้ว และผู้ใช้ใช้ระบบฉายภาพเสริม ซึ่งผู้ใช้จะวางไว้บนเวทีส่วนไหนก็ได้ ปัจจุบันเขานิยมใช้จอฯกรอบอลูมิเนียม (Ez-Fold) แต่เนื่องจากการประกอบและถอดเก็บยุ่งยาก และใช้เวลานานพอสมควร ส่วนใหญ่เขาจะตั้งทิ้งไว้ตลอดงาน แต่ถ้าใช้จอชนิดวางพื้นทำงานด้วยมอเตอร์ ผู้ใช้สามารถยกขึ้นเมื่อต้องการใช้งาน และม้วนเก็บเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว แต่ที่ในเมืองไทยผมยังไม่มีใครเอามาใช้ อาจจะไม่รู้จักก็เป็นไปได้

จอตั้งโต๊ะ

 

     มีการทำงานคล้ายๆกับแบบจอชนิดวางกับพื้น แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก แต่แทนที่เขาจะใช้ชักขึ้นข้างบน เขากลับใช้ชักออกด้านข้าง จอฯชนิดนี้เหมาะกับโปรเจคเตอร์ขนาดเล็ก เพราะมีขนาดใหญ่เพียง 50” 4:3 แต่ถ้าผู้ใช้คือเซลล์แมนหรือผู้ประชุมเล็กๆ อาจจะใช้กับจอมอนิเตอร์ปัจจุบันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือกับทีวีแทนก็ได้ ผมจึงไม่เห็นใครนำเข้ามาขาย

จอโค้ง

     ความจริงผมไม่ค่อยอยากจเอ๋ยถึงจอฯชนิดนี้เท่าไหร่ เนื่องจากควรไปอยู่กับบทความเนื้อจอฯ แต่ที่มาเขียนไว้ในนี้คราวๆ ก็เพื่อให้พอทราบ ครั้งแรกที่ผมเห็นจอชนิดนี้ เป็นยี่ห้อ โกดัก ขนาด 40x40 นิ้ว เป็นโครงแข็งม้วนพับเก็บไม่ได้ เนื้อจอโค้งคล้ายๆทรงกะทะ พ้นผิวจอด้วยอลูมิเนียมละเอียดมากๆ ข้อดีของจอชนิดนี้คือ สะท้อนแสงได้สว่างมาก ผมจำไม่ได้แล้ว แต่ข้อเสียคือมุมแคบเหลือเกิน และพับเก็บไม่ได้ แถมยังมีขนาดเล็กเกินไป อีกทั้งหากใครเอามือไปเตะผิวจอ แรกๆก็ไม่เห็นอะไรเกิดขึ้น แต่หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ก็จะปรากฏเป็นลอยลายมือที่สีคล้ำๆ น่าจะเกิดการ oxide แก้ไขไม่ได้เลย จนในที่สุดก็จะเป็นรอยนิ้วมือเต็มผ้่นจอ ด้วยรคาาที่สูงมากๆ จอโค้งของโกดักนี้ ก็หายไปจากตลาด

     ต่อมาบริษัท วิวเทค จากอเมริกา ก็สร้างจอแบบนี้เหมือนกัน แต่โค้งไม่เท่ากับของโกดัก แต่มีขนาดใหญ่กว่า สว่างกว่าแถมยังสดใสด้วย จำไม่ได้แล้วว่าสว่างเท่าไหร่ น่าจะ 9 เท่าของจอแมทไว (ขออธิบายเรื่องนี้เกี่ยวกับเรื่องฝืนจอ)
ผมไม่ทราบว่าความหมายของคำว่า 9 เท่า เขาใช้มาตรฐานอะไรเป็นเครื่องวัด ถ้าเป็นการวัดค่าความสว่างทางด้านวิทยาศาสตร์ เขาใช้ค่า Log ฐาน 10 ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการวัดค่าความดังของเครื่องเสียง ที่วัดเป็นเดซิเบล หรือเขาวัดค่าความสว่างแบบ asa (อเมริกัน สแตนดาด ซิโอเอชั่น) คือถ้า asa 100 ค่า iso = 21 ค่า asa 200 ค่า iso = 24 asa 400 ค่า iso = 27 ถ้าดูจาก asa ความสว่างเท่าตัว 100 ก็จะเป็น 200 แต่ถ้าเป็น iso ตัวเลข 21 เพิ่มเป็น 24 ห่างกัน 3 จาก 24 เป็น 27 ก็เป็น 3 ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นค่า Log ที่เขาวิธีบวกเอาไม่ใช่คูณเอา แต่การวัดค่าความสว่างของจอ เขาก็มีวิธีของเขาที่วัดเป็นเกน ที่ผมจะเขียนในบทความฝืนจอ และการวัดค่าเกนนี้เอาวัดแบบ asa หรือ iso

     ปัจจุบันผมไม่เห็นวิวเทค ผลิตจอชนิดนี้อีกแล้ว และหลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนเป็นชนิดม้วนเก็บได้ แล้วตอนนี้ก็ไม่เห็นเขาขายอีกแล้ว

จอขึงตายตัว (Fix frame)

     จอฯชนิดที่ขึงตายตัวนี้ สมัยก่อนจะพบได้เฉพาะตามโรงภาพยนต์ แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีมากขึ้นใน Home Theater ในโรงภาพยนต์เขาจะมีโครงเหล็ก ที่โค้งสำหรับภาพที่มีอัตราส่วน 2.66 : 1 ซึ่งเป็นขนาดที่คนไทยชอบเรียกว่า Cinemascope หรือ panavision แต่ถ้าฉายในบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นอัตราส่วน 16 : 9 หรือ 1.77 : 1 ถ้าเป็น Home Theater สว่นใหญ่ฝืนจอจะเรียบไม่ค่อยโค้ง ส่วนแต่จอมีขนาดใหญ่มากหน่อย สำหรับคน 10-20 ผู้ชมขึ้นไป แต่ด้านข้างของจอแบบนี้ ถ้าให้ดีต้องมีม่านปิดทั้งผนังห้อง ผมจะไม่พูดถึงจอชนิดนี้เท่าไหร่ แต่อาจจะเขียนมากหน่อยในบทความเกี่ยวกับเนื้อจอ

ความจริงยังมีการแบ่งแยกจอภาพฉายอีกมากมาย แต่ส่วนใหญ่จะหยุมหยิมเกินไป และผมจะไม่นำมากล่าวในที่นี้

     ความตั้งใจที่แท้จริงของผมที่เขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ผู้ซื้อได้ตะหนักว่า จอภาพฉายแบบ manual หรือ ที่บางครั้งก็เรียกว่าทำงานด้วยสปริงหรือแบบมือดึง ความจริงยังมีแบบที่เมื่อม้วนฝืนจอเก็บเกือบสุด ก้านด้านล่างจะไม่ฟาดกับกระบอกจอเสียงดัง แต่สามารถหาซื้อได้ในราคาที่ไม่ต่างกับรุ่นดั้งเดิม เพียงแต่ผู้ขายไม่เคยแนะนำให้ผู้ซื้อทราบ รวมทั้งจอภาพฉายชนิดม้วนเก็บด้วยมอเตอร์ ที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างก็ไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วมีมอเตอร์ให้เลือก 2 แบบ ซึ่งผู้ซื้ออาจต้องชั่งใจตนเองว่า ถ้าเอาแต่ราคาถูกแต่ได้มอเตอร์ที่เปาะกว่า หรือยอมเพิ่มเงินอีกไม่มากหนักแต่ได้มอเตอร์ที่มีกำลังสูงกว่า และมีอายุการทำงานที่ยาวนานกว่า 

     บทความนี้เขียนขึ้นจากความทรงจำ และไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เป็นเอกสารอ้างอิง ทำให้บทความนี้ยังไม่ถึงกับสมบูรณ์ ทั้งจากความตั้งใจ และจากการหลงลืมหรือไม่ทราบ อย่างเช่น จอกลางแจ้ง จอที่มีโครงเป็นพลาสติกเป่าลม จอน้ำ และจอควัน

     บทความนี้ไม่ได้ตั้งใจที่จะแยกชนิดของจอภาพฉายให้ควบถ้วน แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดเห็นควรที่จะแยกประเภทของจอเพิ่มเติมและมีบทความเกี่ยวกับจอชนิดนั้นก็ให้ส่งบทความมา และจะพิจารณาเผยแพร่ข่าวกับบทความนี้

     อย่างไรก็ดีบทความที่ผมเขียนมานี้ มีความถูกต้องมาก และเท่าที่สำรวจดูยังไม่เห็นมีบทความไหน เขียนเรื่องชนิดของจอได้ครอบคลุมเท่าที่เขียนมานี้

ในตอนต่อไปผมจะแนะนำชนิดของผิวจอต่างๆ

 

 

 

นายตาถั่ว  คลำช้าง
(23 /03 /63)

 


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231