เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 
 
White Lumens / Color Lumens ลูเมนขาว / ลูเมนสี

     

        ในสมัย 30 ปีก่อนครั้งที่ผมเริ่มเข้าสู่วงการวีดีโอ/เดทาโปรเจคเตอร์ การวัดความสว่างของโปรเจคเตอร์ใช้มาตรฐาน 10% Peak White
เป็นการวัดเพื่อให้ได้ค่าตัวเลขสูง จึงมีการเปลี่ยนเป็นวัดแบบ ANSI lumens เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากมีโปรเจคเตอร์ชนิด
LCD แรก ๆ ก็ยังโกงค่าการวัดกันต่อ (มีเรื่องเล่ากันมากเหมือนกัน และในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมเรียกพวกขี้โกงนี้ว่า Specmanship)
        เดี๋ยวนี้ยังมีเรื่อง Specmanship อยู่จนต้องมีหน้า While Paper ในเว็บไซต์เยอะไปหมด ซึ่งแต่ก่อนผมชอบอ่านมาก (White paper
เป็นการชี้แจงข้อเท็จจริง แถมเดี๋ยวนี้ยังมี Green paper สำหรับชี้แจงเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมโลก)
        ปัจจุบันการแสดงค่า ANSI lumens ค่อนข้างจะเชื่อถือได้มากกว่าแต่ก่อน แต่จะมีใครเคยสังเกตบ้างไหมว่าโปรเจคเตอร์ LCD ที่มีค่า
ความสว่าง 2000 ANIS lumens จะสว่างกว่าโปรเจคเตอร์ DLP ที่มีค่าความสว่าง 2000 ANSI lumens เกือบเท่าตัว
        หลายครั้งที่ผมนำโปรเจคเตอร์ LCD ที่มีค่าความสว่าง 1500 ANSI ลูเมน ไปฉายแข่งกับโปรเจคเตอร์ DLP ที่มีค่าความสว่าง 2,000
ANSI ลูเมน แม้โปรเจคเตอร์ LCD จะสว่างกว่าโปรเจคเตอร์ DLP อย่างเห็นได้ชัด แต่ลูกค้าทั้งหมดจะไม่เลือกโปรเจคเตอร์ที่สว่างกว่า เขาจะ
เลือกโปรเจคเตอร์ที่มีค่า ANSI ลูเมนสูงมากกว่า
        ด้วยเหตุนี้ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้อ่านตระหนักถึงความสว่างของภาพสีด้วย ไม่ใช่สีขาวเพียงอย่างเดียว
        สมัยแรกโปรเจคเตอร์ DLP ที่ใช้ DMD แผ่นเดียวใช้ล้อสี (Color Wheel) 3 ช่อง แต่ละช่องจะมีฟิลเทอร์สีแดง เขียว และน้ำเงิน
โปรเจคเตอร์ DLP ก็ยังมืดกว่าโปรเจคเตอร์ LCD พอสมควร แต่พอโปรเจคเตอร์ DLP เริ่มใช้ล้อสี 4 ช่อง โดยเพิ่มช่องใสขึ้นมา โปรเจคเตอร์
DLP จึงยิ่งมืดลงไปอีก ส่วนสีขาวจะขาวโพลน หากนำไปเทียบกับโปรเจคเตอร์ LCD แล้ว สีขาวของโปรเจคเตอร์ LCD จะดูเป็นขาวแก่ไปเลย
ทั้งนี้เพราะช่องสีแดง เขียว น้ำเงิน จะเล็กลง ส่วนช่องใสที่มีสัดส่วนเกิน 30%นั้นจะยอมให้ทั้งสีแดง เขียว น้ำเงิน (คือสีขาว) ผ่านไปพร้อม ๆ
กัน อีกทั้งเมื่อรวมกับช่องสีแดง เขียว น้ำเงิน เพื่อรวมเป็นสีขาว แล้วทำให้สีขาวดูขาวโพลนยิ่งขึ้น เมื่อวัดความสว่างของโปรเจคเตอร์ DLP ที่มี
ความสว่าง 1500 ANSI ลูเมน จะเห็นว่าสว่างเพิ่มเป็นประมาณ 2000 ANSI ลูเมน ขณะเดียวกันส่วนที่เป็นภาพสีกลับมืดลงไปอีกมาก
        ผู้ที่แค้นเกี่ยวกับการวัดค่าแบบ ANSI lumens มากก็คือ กลุ่ม 3 LCD จึงไปจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำการศึกษาการวัดค่าความสว่างใหม่ เพราะการวัดความสว่างแบบ ANSI ลูเมนนั้น เป็นการวัดค่าความสว่างของสีขาวเพียงอย่างเดียว
        ครั้งหลังสุดที่ผมทราบข่าวคือพวกเขาวิ่งเข้าหา ISO (International Standard Organization) แต่ ISO ไม่เล่นด้วย พวกเขาจึงไปหา
กลุ่มที่ย่อยกว่านั้น คือ ANSI (American National Standard Institute) และ IEC (International Electrotechnical Commission)
ให้ใช้มาตรฐานใหม่ที่พวกเขาคิดขึ้นมา
        การวัดของพวกเขา คือส่งสัญญาณแม่สีบวก 100% เข้าไปทีละสี คือสีแดง เขียว และน้ำเงิน วัดค่าความสว่างด้วยวิธีเดียวกับการวัด
ANSI ลูเมน เสร็จแล้วเอาค่าที่วัดได้ทั้ง 3 สีมารวมกัน แล้วให้เรียกค่าที่ได้นี้ว่า Color Lumens
        ผลของการวัดแบบนี้จะเขียนในลักษณะ เช่น 2000 White lumens / 1800 Color lumens ค่าทั้ง 2 นี้ยิ่งใกล้เคียงกันเท่าไหร่ยิ่งแสดง
ว่าสียิ่งดีเท่านั้น หากต่างกันมากเท่าไหร่จะแสดงว่าโปรเจคเตอร์นั้นมีสีขาวปนเข้าไปมาก (ไม่เกี่ยวกับ Color Saturation)
        แน่นอน TI ( Texas Instrument) เจ้าของเทคโนโลยี DLP ต้องประท้วงแน่ ๆ เพราะที่แล้ว ๆ มา TI อาศัยช่องโหว่ของวิธีการวัดแบบ
ANSIlumens เพื่อให้ได้ค่าความสว่างของ DLP สูงปรู้ด ซึ่งรวมไปถึงสัดส่วนเปรียบต่าง ซึ่งแต่เดิมค่า 1000 : 1 กลายเป็น 2000 : 1
        TI อ้างว่าวิธีการวัดแบบ White lumens / Color lumens นั้นเน้นสีแดง เขียว น้ำเงิน ซึ่งเป็นแม่สีบวก จึงเข้าทางกับโปรเจคเตอร์ 3 LCD ซึ่งผมเข้าใจดี เพราะตอนที่ไป Mini Booth Camp ของ Epson เขามีไดอะแกรมกงล้อสี (Color Wheel) แบบต่าง ๆ ซึ่งบางแบบมีสี
เหลือง และบางแบบมีแม่สีบวก และลบครบเลย คือ Red Green Blue Cyan Magenta Yellow ซึ่งจะทำให้ DLP เสียเปรียบ การวัดแบบ
แม่สีบวกเพียงอย่างเดียว แต่ที่ผมทราบมา TI ได้ออกมาตรฐานล้อสีใหม่ที่มี Red Green Blue Yellow และ Magenta (ไม่มี Cyan) แล้ว
เรียกว่า Brilliant Color (แต่แปลกที่โปรเจคเตอร์ Mitsubishi และ Acer ก็ใช้กงล้อสี 6 สี ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ TI ที่ไปร่วมบรรยายให้กับ Acer
บอกว่า 6 สีก็ใช่ Brilliant Color)
        ที่ผมเอาเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะผมไม่ชอบวิธีการที่ TI ไม่ยอมเผยข้อเท็จจริงของการผสมสีของเขาที่จงใจเติมสีขาวลงไปมาก ๆ เพื่อให้ค่า
ANSI ลูเมนสูงขึ้น ที่ทำให้คนซื้อเกือบทั้งหมดหลงเชื่อว่าโปรเจคเตอร์ที่มีค่า ANSI ลูเมนเท่ากัน จะต้องสว่างเท่ากันหมด อีกทั้งทำให้สัดส่วน
เปรียบต่างสูงจาก 1000 : 1 กลายเป็น 2000 : 1 แล้ว TI ก็เอาค่าสัดส่วนเปรียบต่างมาโหมประชาสัมพันธ์ล้างสมองคนซื้อให้หลงผิด
        บทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านที่เคยสงสัยในเรื่องความสว่างระหว่างโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี LCD และ DLP กระจ่างขึ้น ถึงความสว่าง
ที่ต่างกันระหว่างโปรเจคเตอร์ ที่ใช้เทคโนโลยี LCD และ DLP แม้แต่ละเครื่องจะมีค่าความสว่างในมาตรฐาน ANSI ลูเมนเท่ากัน

หมายเหตุ

       บทความนี้ผมเขียนมานานแล้วแต่ไม่ได้เอาขึ้นเวปไซค์ จนกระทั่งผมได้แวะไปอ่านบทความการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ของคู่แข่งรายหนึ่ง
(คู่แข่งก็แข่งกันไปไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน) ผมว่าบทความที่เขาลงนั้นเขียนได้ดีกว่าที่ผมจะเขียนเอง แม้ผมจะสงสัยว่า
หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่น่าจะเรียบเรียงมาจากบทความต่างประเทศ
       เหตุที่ผมเชื่อว่าผมไม่สามารถเขียนบทความแนะนำการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ได้ดีเท่ากับเวปไซค์รายนั้นก็เพราะบทความนั้นแนะให้คนไป
เลือกซื้อโปรเจคเตอร์เอง ในขณะที่ความชำนาญของผมคือช่วยหาโปรเจคเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานของลูกค้าแต่ละราย ( costumed design)
ผมว่าน่าจะเปรียบเทียบได้กับคู่มือการซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะต่างจากการจ้างให้มัณฑนากรเป็นผู้ออกแบบตกแต่งบ้าน หรือสำนักงานทั้งหลัง
        ที่ผมอ้างถึงบทความในเวปไซค์นั้นก็เพราะเผอิญในบทความนั้น เขาอ้างว่าโปรเจคเตอร์ DLP ที่มีค่าความสว่างสูงเท่ากับ LCD แต่เมื่อ
เอามาฉายเทียบกันแล้ว โปรเจคเตอร์ DLP จะมืดกว่าทั้งนี้เพราะ DLP มีสัดส่วนเปรียบต่างสูงกว่าอันเป็นเหตุให้โปรเจคเตอร์ DLP มืดกว่า
ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ผมเลยกลับไปค้นบทความ White Lumens / Color Lumens ขึ้นมาเผยแพร่

     
     
    นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231