เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 
 
การเสวนา“ การเลือกซื้อจอภาพในระบบ LCD TV หรือ Plasma TV”
“ ทิศทางของจอภาพในอนาคต ”

     

     เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2550 ผมได้ซื้อบัตรเข้าฟังการเสวนาตามหัวเรื่อง โดยมีผู้ร่วมเสวนา 7 ท่าน ล้วนระดับบรรณาธิการ
นิตยสารภาพ และเสียง ชั้นไฮเอนที่ผู้อ่านให้ความเชื่อถือต่อบทวิจารณ์ของท่าน

     ผมยอมรับว่าไม่ศรัทรา เพราะได้เคยอ่านบทความในนิตยสารเหล่านี้บางเล่มแล้ว พบว่าถ้าเป็นบทความที่แปลจากต่างประเทศยังพอใช้ได้ แต่
ที่เขียนเองมีหลายตอนที่น่าเป็นห่วง

     เหตุที่ผมเข้าร่วมฟังก็เพราะผมแค่ต้องการอุดหนุนผู้จัดงาน และต้องการดูการพัฒนาความรู้ และดูความก้าวหน้าของผู้ร่วมเสวนา ไม่ได้ต้อง
การไปฉีกหน้าใครกลางงาน

     ท่านแรกที่พูดนำ ให้ความรู้ถึงพื้นฐาน และความเป็นไปของเทคโนโลยี CRT LCD Plasma และโทรทัศน์ ซึ่งก็มีผิดบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่
ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถึงแม้ผิดก็เสียหายไม่มาก

     ต่อมามีการพูดถึง Contrast ซึ่งผมยังไม่เคยเจอผู้ที่จำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์และโพรเจกเทอร์รู้เรื่องนี้สักท่าน ผลเป็นไปตามคาด ทั้ง 7
ท่าน ออกทะเลกันหมด มีเลียบฝั่ง 2 ครั้ง โดยไม่มีใครยอมขึ้นฝั่งซักท่าน

     เรื่องที่พูดต่อมานั้นมีถูกบ้างผิดบ้างคละกันไป คนที่ไม่รู้ก็น่าจะยังศรัทราต่อไป ไม่เห็นแปลกเพราะองค์กรอื่นก็เป็นเช่นนี้

     ที่ผมข้องใจมากก็คือในเมื่อคนที่ไม่รู้เรื่อง Contrast คืออะไรแล้วจะมาวิจารณ์เรื่องความสวยของภาพได้อย่างไร Contrast (แปลเป็นไทย
“ เปรียบต่าง” โดยราชบัณฑิตยสถาน) ไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทั่ว ๆ ไป เพราะเครื่องรับโทรทัศน์ทุกเครื่องจะมีปุ่มปรับ Brightness
กับ Contrast คู่กันมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

     ที่ผมกล้าพูดว่าผมเข้าใจเรื่อง Contrast ก็เพราะตั้งแต่ผมอายุยังไม่ถึง 10 ขวบ ต้องช่วยล้างรูป ล้างฟิล์มและเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย
 งานอดิเรกของผมคือถ่ายภาพ ซึ่งตอนนี้ผมได้ทั้งล้างและขยายภาพเอง และมีโอกาสทดลองเปลี่ยนสูตรน้ำยา เปลี่ยนเวลาล้างฟิล์ม ล้างกระดาษ
เลือกกระดาษที่มีค่า Contrast ต่างกัน รวมทั้งทำนอกและในตำรา

     ตอนนั้นเคยมีคนที่รู้เรื่อง Contrast สอนผม แต่ผมไม่เข้าใจ และเพิ่งจะเข้าใจ ก็ตอนได้ทดลองเองนี่แหละ ยิ่งผมมีอาชีพจำหน่าย
โสตทัศนูปกรณ์มาเกือบ 40 ปี และจำหน่ายเครื่องฉายภาพวีดีโอ/คอมพิวเตอร์ มากว่า 20 ปี และติดตามเทคโนโลยีมาตลอด รวมทั้งผมต้องจัด
การกับปัญหาการเร่งสัญญาณ การกระจายสัญญาณ การแปลงสัญญาณ และการบริหารสัญญาณทางเครือข่าย (net work) ทั้งชนิดสายที่มีระยะ
ทางกว่า 6 กิโลเมตร และชนิดไร้สาย

     ผมเชื่อว่าบรรณาธิการเหล่านี้ เพิ่งจะมาจับงานด้านภาพก็ช่วงหลัง ๆ และอาจมีปัญหาเรื่องแหล่งข้อมูลความรู้ ที่ถูกต้อง กระนั้นก็ดี ความรู้ที่
บรรณาธิการมีก็ถือว่าดีกว่าคนส่วนใหญ่ และดีกว่าที่ผมได้คาดไว้

     มีบางคนต่อว่าที่ผมไม่เผยแพร่ความรู้ ผมยอมรับว่าผมอาจยอมให้ความรู้ตายไปพร้อม ๆ กับผม เพราะเวลาต้องสอนให้ผู้อื่นผมรู้ว่ามีเพียง
บางคนเท่านั้นที่ผมอยากสอน และบางคนผมไม่อยากยุ่งด้วย

     คนส่วนใหญ่ที่ผมสอนรีบปัดความหวังดีของผมแล้วทำหน้าเบื่อที่จะต้องมาเรียนรู้อะไรยาก ๆ ลูกน้องของผมบางคนชอบโพนทะนาว่าพวก
เขาสิเป็นมืออาชีพจริง รู้จริง ส่วนผมเป็นแค่เถ้าแก่จะไปรู้อะไร

     ครั้งสุดท้ายผมถูกลูกน้องสบประมาท โดยกล่าวกับผมว่า “ เดี๋ยวนี้ชักพูดเป็นมืออาชีพแล้วนะ” มันเก่งแค่ไหนถึงมาทำตัวเป็นผู้ประเมินความ
รู้ของผม แล้วจะให้สอนคนพวกนี้ได้อย่างไร

     
     
     
     
นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231