ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
เปรียบต่าง Contrast (ตอนจบ)

     

Contrast (ตอนจบ) มีความคลาดเคลื่อนที่มีบทความเรื่องคอนทราส์ 1,2,3 และจบ ซึ่งตอนจบควรเป็นตอน 4 และครั้งนี้จะต้องเป็นตอนจบจาก

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนความจริงผมยังมีอะไรจะเขียนเกี่ยวกับคอนทราส์อีก 3-4 เรื่อง แต่เมื่อต้องมาเขียนให้ เพราะต้นฉบับหายไปหลายปีแล้ว

ทำให้ผมนึกไม่ออก ว่าจะเขียนเรื่องอะไร รวมทั้งผมก็ออกจะเบื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงขอเขียนเพียงเรื่องที่คนพยายามที่จะแปลคำว่า Contrast

เป็นภาษาไทย โดยไม่ยอมใช้คำตามราชบัณฑิต ราชบัณฑิตสถาน

ทำให้ผมต้องไปซื้อมาเอง ซึ่งบัญญัติคำว่า Contrast = “เปรียบต่าง” ถึงแม้ผมจะไม่ชอบคำนี้ แต่ก็คิดไม่ออก

ว่าจะใช้คำไหนในภาษาไทยที่ สามารถสื่อความหมายได้ตรงกว่านี้ลองดูคำว่า Contrast ที่มีคนแปล

เป็นภาษาไทย เท่าที่ผมนึกออกในขณะนี้

      คมชัด         หากแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษจะได้คำว่า    sharpness

      มิติ             หากแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษจะได้คำว่า    dimension

      ชัดลึก         หากแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษจะได้คำว่า    depth of field

      อิ่มสี           หากแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษจะได้คำว่า    colour saturation


   ผมเดาว่าสาเหตุที่มีการแปลคำว่า Contrast เป็นภาษาไทยผิดๆ น่าจะมีสาเหตุดังนี้


  คมชัด

    ผู้นำเข้าโปรเจคเตอร์คงไปจ้างคนแปล แล้วเผอิญคนแปลไม่รู้จักคำนี้ เลยคิดเอาเองว่าน่าจะเกี่ยวกับความคมชัด เลยเอามาใช้ เพราะถ้าจะบอก

ว่าไม่รู้จักคำนี้ จะเสียความเป็นผู้เชียวชาญด้านภาษาอังกฤษ เลยดันทุลังเขียนไปอย่างนั้น วันหนึ่งในงานนิทรรศการ ผมได้ยินดีลเลอร์ที่เป็น

ตัวแทนโปรเจคเตอร์ยี่ห้อนี้ ประกาศดังๆว่าโปรเจคเตอร์ของเขามีความชัดถึง 30,000 : 1 เผอิญผมรู้จักเขาเลยแกล้งเข้าไปถามเขาเพื่อให้เขา

อึดอัดใจ เพราะมั่นใจว่าเขาตอบไม่ได้ผมถามเขาว่า ความคมชัดที่ 30,000 : 1 เป็นอย่างไร เขานิ่งไปสักครู่ แล้วระเบิดหัวเราะ แล้วพูดว่า

“ผมไม่ทราบ” ผมเลยตอบเขาไปว่าผมรู้แล้วว่าเขาไม่ทราบ แต่ที่ถามไปนั้นก็เพราะต้องการจะแกล้งให้เขาอึดอัดใจเท่านั้นเอง



  มิติ

    ผมเดาว่าคนที่บอกว่า Contrast คือ มิติ คงไปอ่านบทความหนึ่งในนิตยสารต่างประเทศที่เขาเขียนเรื่องนี้ ปัญหาเรื่อง Contrast เกิดขึ้น

ก็เพราะสงครามการตลาดของ TI (Texas Instruments) ที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร DLP ที่ต้องการจะถล่ม LCD ที่ไม่มีองค์กรเป็นผู้พิทักไว้

ตอบโต้ แต่เมื่อโดน DLP ถล่มเข้าบ่อยๆ จึงเกิดการรวมตัวของผู้ผลิต LCD และผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี LCD 3 แผ่น รวมตัวกัน

โต้กลับกับ DLP โดยมี Epson กับ Sony เป็นหัวหอก แต่เท่าที่ดู Epson แทบจะฉายเดี่ยวอยู่คนเดียว แล้ว DLP พบว่า ของเขานั้นส่วนที่ควร

เป็นสีดำจะมืดกว่า LCD โดยเฉพาะหลังจากออกชิพสีดำ (black chip) ที่ช่วยให้สีดำมีความดำยิ่งขึ้น และอิ่มสีมากขึ้น ขณะที่ LCD  นั้นดำ

ไม่สนิทเท่าแทนที่ DLP จะโจมตี LCD เรื่องความดำ เขากลับไปเจาะเรื่อง อัตราส่วนเปรียบต่าง (Contrast ratio) และผมขอย้ำอีกครั้งว่า

Contrast และ Contrastratio มันคนละเรื่องเดียวกัน แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่า ทั้งสองเรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน


นักเขียนฝรั่งคนนั้นวิจารณ์ว่า การที่สีดำของ DLP นั้นดำลง ทำให้เห็นว่าภาพนั้นมีความลึกมากขึ้น คือมีมิติมากขึ้น ที่อาจเป็นเหตุให้คนที่บอกว่า

Contrast คือมิติคงจับประเด็นผิดไปก็เป็นไปได้

 

  ชัดลึก

    ข้อสันนิษฐานของผมจาก “มิติ” นั้นอาจมีใครไปอ่านเข้า เรื่องภาพมีความลึกผสมกับคำว่าคมชัด เลยกลายเป็น “ชัดลึก” ก็เป็นไปได้

ความจริงคำว่า “ชัดลึก” ใช้ในเรื่องการถ่ายภาพ ที่ขึ้นอยู่กับขนาดของ Circle of confusion ทางยาวโฟกัสของเลนส์ และขนาดของรูรับแสง

หากภาพถ่ายนั้นมีความชัดลึกที่ตื้นที่สุด ตัวประธานของภาพเท่านั้นที่อยู่ในโฟกัส ส่วนด้านหน้าและด้านหลังขององค์ประธานจะเบลอ

ถ้าภาพนั้นมีความชัดลึกเพิ่มขึ้น ภาพที่อยู่หน้าองค์ประธานเล็กน้อย จะชัดขึ้นมา รวมทั้งภาพที่อยู่หลังองค์ประธานเล็กน้อย ก็จะชัดขึ้นมาด้วย

แต่ถ้าภาพนั้นมีความชัดลึกสูงสุด ภาพที่ถ่ายได้จะชัดตลอดทั้งภาพ ดังนั้นคำว่า Contrast จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน

 

  อิ่มสี

    ภาพที่สว่างเกินอัตราส่วนเปรียบต่างจะไม่อิ่มสี แต่นั้นเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้น เมื่อความสว่างนั้นสูงเกินกว่าค่าอัตราส่วนเปรียบต่าง ซึ่งไม่ใช่

เปรียบต่าง สมมุติว่าเรามีโปรเจคเตอร์อยู่เครื่องหนึ่ง ที่มีอัตราส่วนเปรียบต่างที่ 400:1 แล้วเราสามารถปรับความสว่างได้ตั้งแต่ มืดสุดจนถึงสว่าง

สุดได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเราเพิ่มความสว่างของภาพฉายจนค่าอัตราเปรียบต่างอยู่ที่ 100:1 ภาพจะสว่างขึ้นบ้างตามปกติ และหากปรับความสว่าง

ให้สูงขึ้นภาพก็จะสดใสขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งค่าอัตราส่วนเปรียบต่างอยู่ที่ 400:1 แต่หากเรายังเพิ่มความสว่างขึ้นไปอีก ภาพก็จะยิ่งสว่างขึ้น

แต่ส่วนที่มืดจะไม่คงความดำเท่าเดิม แต่จะสว่างขึ้นมาด้วย ทำให้ยังคงอัตราส่วนเปรียบต่างไว้ที่ 400:1 ส่วนที่สว่างขึ้นมานี้ไม่ได้สว่างขึ้นเฉพาะ

ส่วนที่ความสว่าง แต่ส่วนที่เป็นสีดำ จะสว่างขึ้นมาทั้งภาพ แสงสีขาวที่สว่างขึ้นมานี้ทำให้ความอิ่มของสีลดลง แต่นี่เป็นอาการเมื่อเราปรับความ

สว่างมากเกินขีดความสามารถของตัวสร้างภาพ ดังนั้นหากตัวสร้างภาพมีอัตราส่วนเปรียบต่างที่สูงขึ้นเป็น 800:1 หรือ 2000:1 เราก็จะสามารถ

ปรับภาพให้สว่างขึ้นโดยยังอิ่มสีอยู่ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะ Contrast หรือ Contrastratio

ผมหวังว่าบทความ เรื่อง Contrast และ Contrastratio ของผมนี้พอจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

 
 
 
 
นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
     
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 1
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 2
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 3
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 4
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอนจบ
     
     
     
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231