ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
สี Colour

     

ใครที่อ่านบทความเรื่อง “ คีย์สโตน 2 ” อาจจำเรื่องที่ผมไปอบรมภาคฤดูร้อน เกี่ยวกับถ่ายภาพ ในวิชาหนึ่ง มีด็อกเตอร์หญิงนิสัยดีมาสอนเกี่ยวกับ

เคมีในการบรรยาย เธอได้ฉายสไลด์ประกอบ หนึ่งในภาพนั้นเป็นรูปภาพตัดของฟิลม์ถ่ายรูปสี แล้วท่านบอกกว่า ถ่ายด้วยกล้องจุลทัศอีเลคทรอน

ซึ่งภาพที่ท่านฉายเหล่านั้น ก๊อปมาจากหนังสือของโกดัก ซึ่งผมเองก็ได้ซื้อมาอ่านเหมือนกัน เพราะสมัยที่สายตาของผมยังดี

ผมอ่านหนังสือได้ ผมเป็นคนอ่านหนังสืออย่างวายร้าย รวมทั้งภรรยาของผมก็เป็นนักอ่านหนังสือ จนทำให้บุตรของผม ซึ่งมีเพียงคนเดียว ก็ชอบ

อ่านหนังสือไปด้วย วันหนึ่งหลังอาหาร ผมได้คุยเล่นกับด็อกเตอร์ท่านนี้ แล้วโดนท่านล้อเรื่องที่ผมนั่งสัปพงกระหว่างที่ท่านบรรยาย ผมเลยถือ

โอกาสบอกท่านว่า ภาพสไลด์ที่ท่านฉายแล้วบอกว่า ถ่ายจากกล้องจุลทัศน์อีเลคทรอนนั้นไม่จริง เพราะภาพนั้นเป็นภาพสี และเราก็รู้ว่าสีคือแสง

แต่กล้องจุลทัศน์อีเลคทรอนไม่ได้ใช้แสง หากภาพนั้นถ่ายจากกล้องจุลทัศน์อีเลคทรอนจริง รูปที่ถ่ายได้จะเป็นภาพขาวดำ ไม่มีสี


แถมยังมีคุณหมอท่านหนึ่งไปบรรยายที่สโมสรโรตารี่ ท่านฉายสไลด์ประกอบแล้วบอกว่า ถ่ายจากกล้องจุลทัศน์อีเลคทรอนเหมือนกัน และภาพที่

ท่านฉายก็เป็นภาพสี แถมท่านยังฉายภาพกล้องจุลทัศที่ใช้ถ่ายแล้วบอกว่า นั่นคือกล้องจุลทัศน์อีเลคทรอน

แต่นั่นไม่ใช่กล้องจุลทัศน์อีเลคทรอนแน่ๆ แต่เป็น optical microscope ธรรมดา เพราะกล้องจุลทัศน์อีเลคทรอนต้องมี electron gun ที่มีรูป

ทรงอย่างกับปืนใหญ่โบราณ



Description: D:\งาน\บทความ\สี\Zeiss-Libra.jpg

กล้องจุลทัศน์อีเลคทรอน electron gun อิเล็อคทรอไมโคนสโคบ



Description: D:\งาน\บทความ\สี\optex-tri-head-biological-microscope-xsp21-01t.jpg


กล้องจุลทัศน์อีเลคทรอน ที่ใช้เลนส์ (Optical microscope)




ภาพอีกชนิดหนึ่งที่ไม่มีสี คือภาพจากเครื่องอัลตร้าซาวด์(Ultra sound) ที่ใช้คลื่น

เสียงเป็นตัวสร้างภาพ ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ เครื่องอัลตร้าซาวด์ไม่ได้ใช้แสง จึงไม่มีสี และท่านอาจสงสัยว่า เครื่องถ่ายอุณหภูมิ ทำไมถึงมีสี



Description: D:\งาน\บทความ\สี\PART1.jpg

(ภาพที่ถ่ายจากเครื่องอัลตร้าซาวด์จะมีแต่สีขาว-ดำ)
 

 

Description: D:\งาน\บทความ\สี\images.jpg Description: D:\งาน\บทความ\สี\remington, lesli 06-23-2011 11-08-08 23 of 35.png

(ภาพที่ได้จากอุณหภูมิ แล้วกำหนดสีขึ้นมาเอง (false image))


เช่นถ้าร้อนมากจะเป็นสีแดง ร้อนน้อยลงจะเป็นสีส้ม เหลือง ขาว และหากเย็นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นฟ้าอ่อน ฟ้า ฟ้าเข้ม และดำ ก็ขอเรียนว่า แท้จริง

แล้วภาพถ่ายความร้อนไม่มีสี แต่ผู้ผลิต หรืออาจจะเป็นผู้ถ่ายภาพจะเป็นผู้กำหนดเองว่า อุณหภูมิตั้งแต่เท่าไหร่จนถึงเท่าไหร่ ให้แสดงเป็นสีแดง

หรือจะกำหนดให้เป็นสีน้ำเงินก็ยังได้ การกำหนดสีเองเช่นนี้ ภาษาฝรั่งเรียกว่า False Colour ซึ่งก็เหมือนกับการถ่ายภาพด้วยแสงอินฟราเรด

(infra-red) ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่เรามองไม่เห็น อย่างเช่นถ่ายจากดาวเทียมที่เรียก 4IR Bands (Four I R Bands หรืออินฟราเรด 4 แถบ)

เขากำหนดสีเองที่เรียกว่า False Colour คือสีไม่จริงผมจึงขอเตือนให้ผู้อ่านว่า ทุกครั้งที่เข้าอบรม ควรวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ผู้บรรยายบอกนั้นถูกต้อง

เพียงใด ไม่ใช่เพราะเขาเป็นด็อกเตอร์ เป็นหมอ หรือเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือก็ตาม เห็นไหมครับว่า บทความนี้เกี่ยวกับสี แต่กลับผูกกับแสง

ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมละล้าละลังว่า หัวเรื่องนี้ควรเป็นเรื่องสี หรือเป็นเรื่องแสงถึงจะถูกต้อง ถ้าเป็นเรื่องแสง แสงที่มีบทบาทสำคัญมาก

สำหรับมนุษย์คือ แสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงแดด ซึ่งเรามักบอกว่าแสงแดดเป็นสีขาว ซึ่งบางคนบอกว่า สีขาวคือไม่มีสี และสีดำเป็นสีสีหนึ่ง

เมื่อผมเจอคนประเภทนี้ ผมมักจะเถียงกับพวกเขา เถียงสู้ได้บ้างแพ้บ้าง หากเขาต้องการเอาชนะลูกเดียว โดยไม่สนใจความจริง

Description: D:\งาน\บทความ\สี\Dispersion_prism.jpg ผมมั่นใจว่าผู้อ่านทุกท่านเคยเรียน เรื่องแสงสีขาวที่เมื่อส่องผ่านผลึกแกล้ว

3 เหลี่ยม แล้วทะลุออกมาเป็นสีรุ้ง นั้นบอกว่าแสงสีขาวนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่สี

สีหนึ่ง แต่ประกอบด้วยสีรุ้ง และยังบอกว่าสีก็คือแสง ซึ่งเราได้เรียนสมัยอยู่ชั้น

มัธยมต้น โปรดลำลึกเสมอว่า คลื่นแสงนั้นกว้างมหาศาล แต่ตาของเราเห็นเพียง

ช่วงแคบๆของคลื่นแสงเหล่านั้น คือเริ่มตั้งแต่สีแดงจนถึงแสงสีม่วง คลื่นแสงที่มี

ความถี่ต่ำกว่าคลื่นแสงสีแดง จะเริ่มตั้งแต่คลื่นแสงใต้แดง (infra-red เรียกย่อๆว่า IR)

เราก็มองไม่เห็น คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นแสงสีม่วง ที่เริ่มตั้งแต่คลื่นแสงเหนือม่วง ( ultra-violet เรียกย่อๆว่า UV ) เราก็มองไม่เห็นเช่น

กันคลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นแสงสีม่วง อีกคลื่นหนึ่งที่เรารู้จักคือ X-Ray ( X หมายถึง ไม่รู้ Ray คือรังสี ซึ่งเมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกันก็คือ

รังสี X หรือรังสีที่ไม่รู้จัก เพราะผู้ค้นพบแสง X-Rayไม่ทราบว่าเป็นรังสีอะไร จึงให้ชื่อว่ารังสี X เพราะในวิชาคณิตศาสตร์ หากไม่ทราบตัวเลขที่

ถูกต้องคืออะไร เขาจะแทนค่าตัวเลขนั้นด้วยตัว X จึงเป็นที่มาของชื่อ X-Ray หรือรังสี X หรือรังสีอะไรก็ไม่รู้ รวมทั้งรังสีแกมม่า (Gamma)

ที่ตาเราก็มองไม่เห็นเช่นกัน ส่วนแสงที่เรามองเห็นเราเรียกว่า Visible Light ซึ่งเป็นแถบแคบๆของคลื่นแสงทั้งหมด

 

สมัยที่เราเรียนเรื่องลำแสงสีขาว ที่ส่องผ่านผลึกแก้วสามเหลี่ยม แล้วโผล่ออกมาอีด้านหนึ่งเป็นสีรุ้งนั้น ผมพึ่งทราบเมื่อไม่นานนี้เอง

ว่าเป็นการสาธิตของเซอร์ไอแซกนิวตั้น (Sir Isaac Newton)  

นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ตอนแรกผมแปลกใจว่าทำไมไม่มีใคร

ค้นพบ เรื่องแรงดึงดูดของโลกก่อนหน้าเซอร์ ไอแซก นิวตั้น(Sir เป็นคำนำ

หน้าเมื่อเรียก บุคคลสำคัญอย่างเข่น การเรียกอัศวิน) ทั้งๆที่ปรากฏาร

แรงดึงดูดของโลกก็เห็นเป็นประจำทุกๆวัน และการค้นพบแรงดึงดูดของโลก

ว่าเป็นการสาธิตของเซอร์ไอแซกนิวตั้น (Sir Isaac Newton)  

นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ตอนแรกผมแปลกใจว่าทำไมไม่มีใคร

ค้นพบ เรื่องแรงดึงดูดของโลกก่อนหน้าเซอร์ ไอแซก

นิวตั้น(Sir เป็นคำนำหน้า

Description: D:\งาน\บทความ\สี\sir-isaac-newton.jpg

เมื่อเรียก บุคคลสำคัญอย่างเข่น การเรียกอัศวิน) ทั้งๆที่ปรากฏารแรงดึงดูดของโลกก็เห็นเป็นประจำทุกๆวัน และการค้นพบแรงดึงดูดของโลก

xผมเพิ่งทราบว่าแท้จริงแล้ว เซอร์ ไอแซก นิวตั้น ได้ค้นพบอะไรต่อมิอะไรมากมาย และเขาก็ยังสนใจเกี่ยวกับ

แสงด้วย ทำให้ผมเลิกสงสัยเกี่ยวกับกรอบสไลด์ ที่ใช้แผ่นกระจกปะกบ 2 แผ่น แล้วเกิดวงสีคล้ายคราบน้ำมันเป็นสีรุ้ง ที่เรียกว่า วงแหวนนิวตั้น

(Newton Ring) ทำให้ผมเข้าใจที่มาของชื่อนี้ ซึ่งเกิดจากคลื่นแสงหักล้างกันเอง เมื่อสะท้อนระหว่างกระจกทั้ง 2 แผ่น รวมทั้งทราบว่า



 


Description: D:\งาน\บทความ\สี\ดาวน์โหลด.jpg

(กล้องโทรทัศน์ ดาราศาสตร์)


(กล้องโทรทัศน์ ดาราศาสตร์) กล้องโทรทัศน์ ดาราศาสตร์แบบนิวตั้นนั้น ก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ของ เซอร์ ไอแซก นิวตั้น ด้วยเช่นกัน นอกจากเรื่อง

แสงสีขาว ซึ่งแท้จริงแล้วคือการผสมกันกับของแสงสีรุ้งแล้ว ยังมีภาพวงกลมสามวง สีแดง เขียว และน้ำเงิน ทับกันไปทับกันมา ทำให้เห็นว่าหาก

สีสองสีผสมกันแล้วจะเป็นสีอะไร


Description: D:\งาน\บทความ\สี\color-mixing.jpg

(แม่สีบวก แม่สีลบ)



และส่วนที่ตรงกลาง คือส่วนที่ทั้งสามสีผสมกัน จะเป็นสีขาว และยังมีอีกภาพหนึ่ง ซึ่งสีไม่ตรงกับแดงเขียว และน้ำเงิน แต่ตรงกลางกลับเป็นสีดำ

ซึ่งคุณครูก็ไม่อธิบายอะไร (พวกเราเรียนแบบท่องจำ) ผมยังสงสัยว่า ทำไมวงสีจึงต้องเป็น แดง เขียว และน้ำเงิน ทำไมไม่ใช้สีอื่น และทำไมภาพ

หนึ่ง แสดงส่วนกลางเป็นสีขาว แต่อีกภาพกลับเป็นสีดำ จนกระทั้งครั้งหนึ่ง เจ้านายของผมไปเช่าที่ในร้านขายผ้าไหมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่

ย่านถนนเกษร ย่านราชประสงค์ โดยผมเป็นพนักงานขายหน้าร้าน ขายอุปกรณ์ถ่ายรูป และอีกคนเป็นช่างภาพ ช่างอัดรูปในห้องมืด เผอิญที่ร้านนี้

ก็ให้คนอื่นเช่า เป็นร้านขายแว่นตา วันหนึ่งช่างตัดเลนส์แว่นตาก็อธิบายให้ผมรู้ว่าจอตา (ratinar) นั้นประกอบด้วย ประสาทตา 2 ชนิด คือ Rod

และ Cone ที่เรียกว่า Rod ก็เพราะประสาทตามีรูปทรงเป็นแท่งกลมยาว ซึ่งประสาทตา Rod นี้ไวต่อแสงสว่าง ส่วนที่เรียกว่า Cone นั้น มีรูป

ทรงเหมือนกรวยกรวยไอศกรีม และไวต่อสี จากข้อมูลนี้ทำให้ผมเดาเอาว่า Cone นั้นน่าจะเห็นเพียง สีแดง เขียว และน้ำเงินเท่านั้น ส่วนสีอื่นๆ

น่าจะเกิดจากการผสมกันระหว่างสีทั้ง 3 ในอัตราส่วนที่ต่างกันออกไป

 

Description: D:\งาน\บทความ\สี\rod-and-cone-cells.jpegDescription: D:\งาน\บทความ\สี\image_142.max-1000x800.jpg

(Cell cone มี 3 ชนิด ชนิดไวแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน Cell rod ไวคมาสว่าง)



           เมื่อผมกล่าวถึงสีแดง เขียน น้ำเงิน และเมื่อผสมกันทั้งหมดจะกลายเป็นสีขาวนั้น ผมหมายถึงสีของแสง ไม่ใช่สีจากสิ่งพิมพ์ ไม่ใช่สีผ้า

สีทาบ้าน ฯลฯ ที่ตาเรามองเห็นสีของวัสดุ แต่ผมหมายถึงสีของแสงเท่านั้น เพราะบทความนี้จะเน้นเรื่องสีของแสง ที่ใช้กับโปรเจคเตอร์ กว่าที่ผมจะ

รู้ว่าสิ่งที่ผมคาดว่าที่เราเลือกแม่สีให้เป็นสีแดง เขียว น้ำเงิน ก็เพราะประสาทตาเราเห็นแค่ 3 สีนี้ว่าถูกต้อง ก็ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20-30 ปี ตอนต่อ

ไปผมจะอธิบายการใช้แม่สีบวก (colour ad tive หรือ Colour possitive) ในโปรเจคเตอร์ว่ามีวิธีอย่างไร   หมายเหตุภาพส่วนใหญ่ได้มาจาก

ใน Google

 

 
 
 
 
นายตาถั่ว  คลำช้าง
    1/12/59
     
         
     
     
     
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231