ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

ANSI lumens


    ก่อนที่ผมจะอธิบายถึง ANSI Lumen ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานในการวัดความสว่างของโปรเจคเตอร์ (Video/data projector)  ผมก็ขอโหมโรงตามสไตล์เดิมๆของผม
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ คุณกำพล ตันสัจจา ได้ชวนเพื่อนนักเรียนไปงานเปิดตัวนงนุชเธียร์เตอร์ที่สวนนุงนุช ในงานเขาได้จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Revenance ที่นำแสดงโดย ลีโอนาโด ดีคาปรีโอ     แต่ขณะที่ยืนคอยการเข้าสู่นงนุชเธียร์เตอร์ ก็มีการประกาศย้ำอยู่นั่นแหละว่า ภาพยนตร์เรื่องนั้น ถ่ายทำด้วยแสงธรรมชาติจริงๆ ไม่รู้ว่าทำไมถึงต้องย้ำแล้วย้ำอีก
    แต่พอภาพยนตร์เริ่มฉาย ผมถึงได้รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริง ที่เขาออกตัวว่าเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทำใบแสงธรรมชาติจริงๆ นั้น แท้จริงเป็นเพราะเครื่องฉายสว่างไม่พอ ภาพถึงเป็นเงาดำตะคุ้มๆ
    แล้วเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2018 นี้ สโมสรโรตารี่กรุงเทพกล้วยน้ำไท ที่ผมเป็นสมาชิก ก็ได้จัดฉายภาพยนตร์การกุศล เพื่อหาเงินไปจัดงานวันเด็ก โดยฉายเรื่อง Robin Hood ภาค 2 : จอมโจรกู้แผ่นดินเดือด ที่ Major Cineplex เอกมัย โรง 7 ซึ่งจอภาพฉายก็ดูใหญ่โตดี แต่พอเริ่มฉายก็เห็นว่าภาพมืด ทั้งๆที่เขาน่าจะเร่งแสงสว่างมากๆ จนแทบไม่มีสีอื่นๆ อย่างกับเป็นสีขาว/ดำอย่างเดียว
    ส่วนผมนั้นได้ห่างหายไปจากการขายโปรเจคเตอร์กว่า 8-10 ปี ก็เกิดมีคนมาให้ผมออกแบบระบบฉายภาพ โดยต้องการจอฯที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ผมก็คำนวณได้ว่าจอฯที่ใหญ่ที่สุด ที่มีอัตราส่วน 16:10 สำหรับห้องประชุมนั้น คือจอฯที่มีขนาดเส้นทแยงมุม 150”
สมัยก่อนจอฯที่มีอัตราส่วน 4:3 ขนาดเส้นทแยงมุม 150” ความสว่างขนาด 3000 ANSI ลูเมน ก็ใช้ได้ดี แต่ถ้าจอฯที่มีอัตราส่วน 4:3 ขนาดเส้นทแยงมุม 200” (ความกว้างของจอฯ = 4 เมตร) ภาพจะมืดไปหน่อย แต่นั่นผมใช้โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด LCD เพราะถ้าใช้เทคโนโลยีสร้างภาพ DLP ความสว่างจะลดลงประมาณครึ่งหนึ่งเลย
    ผมเลยขอให้ดิสทรีฯ (Distributor) เสนอโปรเจคเตอร์ที่มีอัตราส่วน 16:10 ที่ความสว่างประมาณ 5,000 ANSI ลูเมน เพราะจอที่มีอัตราส่วน 16:10 ความกว้างของจอจะมากกว่าจอฯที่มีอัตราส่วน 4:3 ประมาณ 10%~20% และโปรเจคเตอร์ต้องใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด LCD ดิสทรีฯก็เสนอรุ่นที่สว่าง 5,500 ANSI ลูเมนมา ผมก็คาดว่าน่าจะปลอดภัยในเรื่องความสว่าง
แต่เมื่อผมตรวจดูสเปคฯในซีรีย์นั้นที่มีถึง 5 รุ่น ผมก็พบว่าแท้จริงแล้ว รุ่นที่ผมสั่งซื้อนั้นสว่างเพียง 4,500 ANSI ลูเมน แต่ผมก็เชื่อว่าก็ยังอยู่ในขั้นสว่างพอ
    แต่พอเอาเข้าจริงๆ ปรากฏว่าเขาฉายภาพขณะที่ห้องยังสว่างอยู่ ในขณะที่ประสบการณ์เก่าๆของผม เขาต้องลดแสงสว่างบริเวณหน้าจอฯให้มืดมากที่สุด ทำให้ภาพที่ฉายดูจื๊ดไปหน่อย ถ้าผมจะต้องมาออกแบบระบบฉายภาพอีกครั้ง     ผมต้องกลับมาทบทวนเรื่องความสว่างของเครื่องฉายฯใหม่ให้เหมาะสำหรับวิธีการฉายภาพในปัจจุบัน เพราะสมัยก่อนพอจะฉายภาพ ก็จะต้องปิดไฟ แต่พอปิดไฟปั๊ปผู้ชมก็จะหลับตานอนหลับกันปุ้ป ยิ่งการบรรยายไม่เข้าท่ายิ่งชวนให้หลับง่ายเท่านั้น 
ในสมัย 25-35 ปีก่อนโปรเจคเตอร์ วีดีโอ/เดต้า ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด CRT (Cathode Ray Tube) ที่ความสว่าง 650 ลูเมน ที่ 10% peak white แต่ต่อมาค่าความสว่างของเครื่องฉายเครื่องเดียวกันนี้ อยู่ๆกลับเขียนว่า 115 ลูเมน พอถามทางโรงงาน ว่าทำไมความสว่างจึงลดลงฮวบฮาบ จาก 650 ลูเมนมาอยู่ที่ 115 ลูเมน พิมพ์ผิดหรือเปล่า เขาก็ตอบว่าไม่ได้พิมพ์ผิด และไม่มีการอธิบายใดๆเพิ่มเติม
    ผมจึงต้องเสาะหาข้อมูลที่แท้จริง อย่างเช่น ความหมายของ 10% peak white คืออะไร โดยมีคนบอกผมว่า เขาวัดโดยการ วัดความสว่างเฉพาะที่ตรงกลางจอฯในบริเวณเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่สว่างมากที่สุด แล้วนำมาคำนวณว่าถ้าทั่วทั้งจอฯจะสว่างเป็นค่าเท่าไหร่
    คำว่า peak white หมายถึงอะไรผมก็ยังไม่ทราบ จนในที่สุดผมก็พอจะทราบว่า peak white คืออะไร เพราะคืนหนึ่งประมาณ 2 ทุ่ม ทางโรงแรมเซ็นทรัลลาดพร้าว ได้โทรศัพท์มาให้ผมเอาโปรเจคเตอร์ไปให้เช่า มันดึกแล้ว ผมจึงต้องไปเอง และต้องปรับเครื่องฉายเอง เครื่องฉายที่ผมนำไปใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด CRT ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งผมต้องปรับ Convergent จนเสร็จก็เกือบๆ 2 ชั่วโมง แต่พอปรับให้ภาพสว่างมากขึ้น ตัวหนังสือกลับจืดจนมองแทบไม่เห็น เลยต้องลดความสว่างลง แล้วเชิญผู้เช่าให้มาดู พอเขาเห็นว่าเป็นโปรเจคเตอร์ชนิด CRT ที่มีขนาดใหญ่โต เขาขอเปลี่ยนเป็นชนิด LCD พอบอกว่าไม่มี เขาก็ปฏิเสธที่จะเช่า ดังนั้นคืนนั้นผมเสียเวลาไปฟรีๆ
เช้าวันรุ่งขึ้นผมจึงถามช่างของผม เรื่องความสว่างที่เมื่อยิ่งปรับให้สว่างมากขึ้นแล้ว ทำไมตัวอักษรก็จะยิ่งจืดลง เขาบอกว่ามันสว่างเกินไปเมื่อฉายขึ้นจอเล็กๆ แต่เขาอธิบายไม่เก่ง หรือไม่รู้เหตุผลที่แท้จริงก็ไม่ทราบ จนภายหลังผมถึงรู้ว่ามันสว่างเกิน Contrast ratio จึงทำให้ไม่อิ่มสี ภาพถึงจืด ดังนั้นถ้าการวัดความสว่างของโปรเจคเตอร์ที่ peak white โดยไม่สนใจว่าคุณภาพองภาพจะเป็นอย่างไร ก็จะได้ค่าความสว่างสูงมากๆ
    ส่วนสาเหตุที่ผมเพิ่งมาเขียน เรื่อง ANSI ลูเมน ในตอนนี้ก็เพราะ มีท่านผู้เชียวชาญด้านระบบภาพฉาย ที่น่าจะได้รับการยอมรับจากหลายๆฝ่าย อย่างน้อยบริษัทผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ ที่มีสำนักงานยู่ในประเทศไทย 2ราย ก็ให้ท่านเป็นวิทยากรให้กับดีลเลอร์ทั้งหลาย แต่เผอิญผมก็ยังไม่เคยได้ฟังการบรรยายของท่าน เพราะธุรกิจของผมในช่วงราวๆ10ปีก่อนหน้านี้ อยู่ในขั้นวิกฤต เรียกว่าล่อแล่ที่จะล้มละลาย เลยถอนตัวออกจากการทำธุรกิจสินค้าไฮเทค เลยไม่มีผู้ค้าโปรเจคเตอร์รายใดมาเชิญชวนให้ผมไปฟังการบรรยาย ซึ่งผมก็เสียดาย อย่างไรก็ตามผมยอมรับว่าท่านผู้รู้ท่านนี้ มีความรู้ดีๆมากกว่าผมหลายอย่าง และถ้าเป็นไปได้จะเชิญให้ช่วยส่งบทความด้านความรู้มาลงในคอมลัมท์นี้
ท่านผู้นี้บอกว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีการวัดค่าความสว่าง ที่มีหน่วยความสว่างเป็น ANSI ลูเมน มีแต่ลูเมนเฉยๆ และแม้ผมจะบอกว่าในการวัดค่าความสว่างเป็น ANSI ลูเมนในโปรเจคเตอร์ ต้องมีการปรับ contrast และ colour saturation ด้วย เขาก็บอกว่าไม่ต้องปรับค่า contrast หรือ colour saturation ใดๆทั้งสิ้นอีกแล้ว ซึ่งเป็นการวัดค่าความสว่าง เช่นเดียวกับการวัดค่าความสว่างของหลอดฉาย หรือโปรเจคเตอร์ที่ใช้แผ่นใส เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแผ่นไส ฯลฯ
เพื่อโต้แย้งท่านผู้เชียวชาญ ท่านนี้ผมเลยต้องไปค้นหาบทความเดิมของผม ในคอมลัมท์นี้เรื่อง ANSI lumens เพราะผมจำขั้นตอนการวัดไม่ได้แล้ว ว่าเขามีวิธีวัดค่า ANSI ลูเมน อย่างไร ผมเลยเช็คบทความเก่าๆที่เว็บไซต์ www.virasupplies.com ในคอมลัมท์ ความรู้ แต่หาบทความนี้ไม่เจอ เข้าใจว่าเมื่อกว่า 10 ปีมานี้ โฮสต์ที่ผมไปเช่าเขาเพื่อเก็บไฟล์ของเว็บไซต์นี้ ได้เคยถูกแฮ็ค และบทความถูกทำลายไปกว่าครึ่ง เลยต้องเขียนขึ้นใหม่ จำได้ว่ายังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมเขียนเรื่อง เทคโนโลยีสร้างภาพที่มี CRT LCD DLP LCoS และ GLV ซึ่ง GLV นั้นมีที่มาที่ไปและหลักการคล้ายๆ DMD ของ DLP ซึ่งเรื่องนี้ก็หายไปและยังไม่ได้เขียนขึ้นมาใหม่
    แต่บทความนี้ผมจำวิธีปรับ (calibrate)  contrast หรือ colour saturation ไม่ได้ซึ่งก็รวมทั้งต้องมี pattern ภาพ ซึ่งผมเคยซื้อจาก InfoComm ซึ่งแท้จริงแล้ว Extron เป็นผู้ผลิตให้ แล้วให้ InfoComm มาเป็นผู้ขายในราคาที่ถูกกว่า Extron ซึ่ง Extronจะขายเอง และ pattern ของทั้ง 2 แหล่งนี้ไม่เหมือนกันหมดทุกอย่าง ผมเลยต้องซื้อจากทั้ง 2 แหล่ง และซื้อทุกๆปีเพราะเขามีกรปรับปรุงตลอดเวลา เช่น จากความละเอียดระดับ VGA เป็น SVGA และ XGA เป็นต้น อีกอย่าง EXtron ไม่ได้ขายเป็นแผ่น CD อย่างของ InfoComm แต่เป้นเครื่อง Signal pattern generator
สำหรับวิธีการหาค่า ANSI ลูเมนนั้น ผมพอทราบแต่ไม่เคยทำ เพราะผมไม่สนใจที่จะเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ในเรื่องความสว่างของโปรเจคเตอร์ แต่ละยี่ห้อและแต่ละรุ่น ซึ่งวิธีหาค่า ANSI ลูเมนนั้น เราใช้กับเครื่องฉายที่มีระบบสร้างภาพภายในเครื่องฉาย ไม่เหมือนเครื่องฉายที่เราต้องป้อนแผ่นใส ฟิล์มสไลด์ หรือฟิล์มภาพยนตร์
    ผมยังพอที่จะจำได้ว่า ตอนที่เขียนเรื่องนี้ในครั้งแรก ผมยังตำหนิบริษัท 3M  เพราะในการสอบราคาซื้อเครื่องฉายแผ่นใสครั้งหนึ่ง ผู้ซื้อกำหนดค่าความสว่างต้องเป็น ANSI ลูเมน ผมก็โทรไปแย้งกับผู้ซื้อว่า เครื่องฉายแผ่นใสไม่มีการวัดค่าเป็น ANSI ลูเมน เพราะไม่สามารถปรับค่า Contrast และ colour saturation ได้ เลยโดนอาจารย์โต้กลับว่า ในแคทตาล็อคเครื่องฉายแผ่นใสยี่ห้อหนึ่ง เขาแจ้งความสว่างเป็น ANSI ลูเมน ผมเลยถามกลับไปว่าใช่ยี่ห้อ 3M ไหม เพราะจะมีแค่ บ.3M เท่านั้นที่กล้าทำอย่างนี้ แต่ท่านอาจารย์ไม่ยอมตอบ ผมเลยไปดูที่แคทตาล็อคของ 3M แล้วก็พบว่า เป็นอย่างนั้นจริงๆ     สมัยนั้นผมยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต เลยไม่ได้ไปดูว่าในต่างประเทศ 3M เขาแจ้งความสว่างเป็น แค่ลูเมนหรือแจ้งเป็น ANSI ลูเมนกันแน่
    เรื่องคล้ายๆกันนี้ก็เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อมีเฉพาะบริษัท Sony Thai เท่านั้นที่แจ้งว่า โปรเจคเตอร์ของเขาที่มีความละเอียดระดับ 1024x768 (XGA) ว่ามีค่า TV Line ถึง 750 เส้นขณะที่ยี่ห้ออื่นทุกยี่ห้อ แจ้งว่า 540 TV Line เท่านั้นเพราะการหาค่า TV Line จริงๆ เขาใช้กับจอ TV หรือ โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด CRT เพราะเทคโนโลยีนี้ขนาดของจุดพิกเซล (Pixel) สามารถย่อหรือขยายได้ ส่วนเทคโนโลยีสร้างภาพชนิด LCD DMD LCos นั้น ขนาดของพิกเซลเป็นชนิดตายตัว ไม่สามารถขยายหรือย่อได้ เขาจึงใช้ค่า Kell Factor แทน ซึ่งค่าของ Kell Factor นี้ =0.7 (768x kell factor = 768x0.7 = 537.6) แต่ Sony Thai เป็นรายเดียวที่แจ้ง TV Line ของโปรเจคเตอร์เขาสูงถึง 750 เส้น
ในการหาค่า ANSI ลูเมน นั้นเขาให้ฉาย pattern ที่มีรูปแบบอย่างไรผมจำได้เพียงคลับคล้ายคลับคา อย่างรูปที่ 1
ผมจึงไปค้นหาภาพ pattern ANSI lumen ใน google ปรากฎว่าภาพที่เห็นด้านซ้ายมือนั้นคืออะไรผมดูไม่ออก รู้แต่ว่าภาพที่อยู่ด้านขวามือคือ pattern สำหรับวัดค่า ANSI ลูเมน
การที่ผมไม่ทราบว่าภาพซ้ายมืออะไรก็เพราะ ผมไม่รู้ว่าบล็อกเล็กๆ 3 บล็อก 2 แถวนั้นคืออะไร และภายในแต่ละบล็อคที่มีเส้นดำๆหนาๆหมายความว่าอย่างไร
ผมจึงรวบรวมความจำอีกครั้ง ว่าบล็อคเล็กๆเหล่านั้นน่าจะเป็นแถบสี โดยแถบสีในโทนดำน่าจะอยู่ซ้ายมือ 3 บล็อก ส่วนแถบสีโทนขาวน่าจะอยู่ขวามือ

  สำหรับแถบสีนั้น ครั้งแรกผมไปค้นหาจาก gray scale ใน google แต่ภาพไม่เหมาะ ผมจึงไปเอาจาก zone system ที่ดูจะดีกว่า แต่ผมขอเตือนก่อนว่า pattern ที่ผมทำขึ้นมาเองนี้ เป็นแค่แนวทาง (guide line) อย่าถือเป็นมาตรฐาน
แต่เมื่อผมจะเริ่มสร้างบทความนี้ให้เป็นหน้าเว็บ ผมจึงกลับไปหา pattern นี้จาก google ใหม่ ปรากฏว่าได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีกว่าครั้งแรก โดยเฉพาะภาพทางซ้ายมือสามารถเห็นได้ว่าภายในบล็อกเล็กๆเขาเขียนว่า 0% 5% 10% และ 90% 95% 100% ซึ่งนั้นก็น่าจะใช่ค่าแถบสีที่ควรจะเป็น ผมเลยกลับมาแก้ pattern ของผมใหม่ให้เป็น 2 แถวบนและล่างเหมือนกับของ google

ภาพที่อยู่ด้านบนคือให้มีแถบสีดำ เข้มเทาอยู่ด้านบน... สองมีแถบสีขาว ขาวอ่อน ขาวแก่ ในการเริ่มต้นการปรับแต่งภาพ
ให้ปรับค่าความสว่างให้สว่างมากๆ แล้วปรับค่า contrast จนเห็นบล็อคสีเข้มๆ ให้เห็นแยกจากกัน ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นการปรับค่า contrast เสร็จแล้วให้ดูบล็อกสีขาวแถวสอง ซึ่งอาจหาไม่เจอเลยทั้งหมดก็ได้ แล้วค่อยๆลดความสว่างจนสามารถเห็นบล็อกสีต่างๆ เสร็จแล้วก็กลับไปรับค่า contrast แล้วกลับมาปรับค่าความสว่างใหม่ เพื่อให้ภาพอิ่มสีมากที่สุด ทำกลับไปกลับมาจนได้ภาพดีที่สุด กระนั้นก็ดีผมขอไม่ยืนยันว่านี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง เพราะไม่เคยมีคู่มือ

    
    ต่อจากนั้นก็ให้ฉาย pattern (รูปขวามือ) ที่แบ่งหน้าจอสีขาวออกเป็น 9 ช่อง โดยวัดแต่ละช่องแล้วนำมาเฉลี่ย เพื่อหาค่าความสว่างทั้งจอ เสร็จแล้วค่อยแปลงค่า (convert) ให้เป็น lumen ซึ่งผมไม่เคยคิดที่จะจำสูตรนี้ เพราะไม่เห็นความจำเป็น เพราะไม่คิดจะเป็นผู้พิสูจน์ความสว่างของโปรเจคเตอร์ แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น
ในการวัดแสงถ่ายรูปนั้นเขามี 2 วิธี โดยผมขอใชเการวัดค่าความสว่างอย่างที่ใช้ในการถ่ายรูปก่อน วิธีที่หนึ่งคือเครื่องวัดแสงจะอยู่ที่ตัวกล้องถ่ายรูปหรืออยู่กับตัวช่างภาพ แล้ววัดแสงที่สะท้อนจากวัตถุที่จะถ่าย ข้อเสียของวิธีนี้คือ ถ้าวัตถุเป็นสีขาว แสงที่สะท้อนกลับมาจะดูสว่างมาก เครื่องวัดแสงเลยบอกให้ลดการับแสงลง ภาพที่ได้จึงกลายเป็นสีเทาไปบาง แต่ถ้าวัตถุที่ถ่ายเป็นสีดำ เครื่องวัดแสงจะบอกว่ามืดให้เพิ่มแสงภาพที่ถ่ายให้มากขึ้น ภาพที่ถ่ายได้จึงไม่ดำ แต่กลายเป็นสีเทา


วัดแสงแบบสะท้อนโดยเครื่องวัดแสงจะอยู่กับช่างภาพหรืออยู่ที่กล้องถ่ายรูป แล้ววัดแสงจากวัตถุที่จะถ่าย

    การวัดแสงอีกวิธีหนึ่งคือ วัดแสงโดยตรง (incident) คือเราเอาเครื่องวัดแสงไปดักแสงที่หน้าวัตถุที่จะถ่าย วิธีนี้เราจะไม่สนใจว่าวัตถุที่จะถ่ายเป็นสีขาวหรือสีดำ เมื่อถ่ายรูปเสร็จ ถ้าวัตถุเป็นสีขาว ภาพที่ถ่ายออกมาแล้วจะเป็นสีขาว และถ้าวัตถุที่จะถ่านรูปเป็นสีดำ ภาพที่ถ่ายออกมาก็เป็นสีดำ
เครื่องวักแสงชนิด incident นั้นเหมือนกับเครื่องวัดแสงชนิด reflecting แต่ช่องที่รับแสงจะมีลูกกลมๆสีขาวขุ่นเหมือนกับลูกปิงปองครึ่งซีกครอบไว้ ซึ่งลูกพลาสติกกลมครึ่งซีกนี้ จะทำหน้าที่รับแสงจากทุกทิศ ที่จะส่องไปยังวัตถุที่เราจะถ่าย
มีเกร็ดเล็กๆเกี่ยวกับเครื่องวัดแสงชนิด incident นี้คือ


วัดแสงแบบรับตรง เครื่องวัดแสงจะอยู่หน้าวัตถุที่จะถ่าย

    วันหนึ่งภรรยาของผมได้อ่านข่าวว่าสมาคมโฆษณาได้จัดอบรมการถ่ายภาพ เธอจึงจองที่นั่งให้ผม แล้วบังคับให้ผมต้องไป แต่เมื่อไปถึง ผมถึงทราบว่า ความจริงแล้วบริษัท Benli Juben ที่เป็นตัวแทนไฟแฟลช์ ในสตูดิโอยี่ห้อ Bron Color เป็นผู้ให้การอบรม เมื่อผู้ช่วยบรรยายเห็นผม ก็พูดขึ้นมาดังๆว่า ผมแอบเข้าไปฟังเขาบรรยาย แต่ผมไม่อยากไปต่อล้อต่อเถียงด้วย ว่าผมจ่ายตังนะ ไม่ได้แอบเข้าไปฟังฟรีๆ
ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็บอกว่าเครื่องวัดแสงชนิด incident ที่มีลูกกลมๆบังอยู่หน้าช่องรับแสง ก็เพราะมันมีลักษณะคล้ายศีรษะคน เท่านั้นเองผมก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว เขาเคยแอบมาฟังผมบรรยายเรื่องไฟแฟลช์ยี่ห้อ Balcar จาดฝรั่งเศษ ที่ผมได้หยิบจานสะท้อนแสงขึ้นมาอันหนึ่ง แล้วบอกว่ามีขนาดพอๆกับศีรษะคน แล้วเขาคนนี้แหละที่แอบเข้ามาฟังผมฟรีๆ (เพราะผมไม่ได้เก็บเงินค่บรรยาย+สาธิต)

แต่ลูกกลมๆครึ่งซีกนั้นแท้จริงทำหน้าที่รับแสงจากทุกทิศ แล้วเครื่องวัดแสงจะวัดจากภายในของลูกกลม จึงไม่มีอะไรคล้ายกับศีรษะมนุษย์  เพราะภายในก็เหมือนกับเบ้าสำหรับเครื่องวัดแสงชนิด Lux meter
เครื่องวัดแสงที่ใช้ในการหาค่าลูเมนนี้เรียกว่า Lux มีเตอร์ และทำงานเหมือนเครื่องวัดแสงถ่ายรูปชนิด incident เพียงแต่ว่าด้านหน้าของแผงรับแสง จะเป็นแผ่นพลาสติกสีขาวขุนแบนๆรูปวงกลม และจะอ่านค่าเป็น Lux

      ในการวัดเราจะหันหน้าแผ่นพลาสติกสีขาวขุ่นเข้าหาเครื่องโปรเจคเตอร์ ไม่ใช่วัดแสงที่สะท้อนจากจอภาพฉาย อย่างเช่นที่ท่านผู้เชียวชาญท่านั้นบอก เพราะถ้าวัดด้วยวิธีนั้นจะต้องไปคำนวณกับค่า Gain ของจอฯอีกที
ขั้นตอนการคำนวณจากค่า Lux ซึ่งต้องคำนึ่งถึงพื้นที่ของจอฯ หาค่าเฉลี่ยแล้ว convert เป็น ANSI ลูเมน นั้นผมไม่ได้สนใจที่จะหาค่านี้ จึงไม่ทราบขั้นตอนนั้น
    บทความการหาค่า ANSI ลูเมนนี้ อธิบายถึงขั้นตอนเท่านั้น ที่อาจมีความผิดพลาดมากมายก็ได้ แต่ผู้อ่านจะทราบว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง ก่อนจะจัดได้ค่า ANSI ลูเมน
อีกประการหนึ่ง ท่านผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบฉายภาพนี้ได้บอกว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีการวัดค่าความสว่างของโปรเจคเตอร์เป็น ANSI ลูเมนแล้ว แต่วัดเป็นลูเมนเฉยๆ ผมว่าไม่น่าจะจริง เพราะค่าที่วัดจากวิธี ANSI ลูเมนนั้นมีขั้นตอนมาก กว่าการวัดค่าลูเมนเฉยๆ แต่มีข้อน่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง ว่าทาง ANSI เคยประกาศว่า การวัดค่าความสว่างเป็น ANSI ลูเมนนั้น ไม่ควรเป็นหน้าที่ของ ANSI แต่ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ซึ่งชื่อที่ใช้แทน ANSI นั้นผมจำไม่ได้แล้วว่าคืออะไร ทราบแต่ว่าวิธีการวัดความสว่างก็ยังคงใช้วิธีเดิมของ ANSI อยู่ดี จน Toshiba บอกว่าเขา ไม่สนใจว่าชื่อใหม่ว่าจะมีชื่อว่าอะไร เพราะหากใช้แล้วผู้คนจะเกิดความสับสน ดังนั้น Toshiba ก็จะยังตะบี้ตะบันใช้ชื่อ ANSI ลูเมนต่อไป
เสร็จแล้วผมจึงให้ผู้ช่วยของผม ช่วยค้นหาแคทตาล็อคโปรเจคเตอร์ทางอินเทอร์เน็ต แต่ต้องเป็นเว็บไซต์จากต่างประเทศ แล้วดูว่าเขาแจ้งความสว่างของโปรเจคเตอร์เป็น Lumens เฉยๆ หรือเป็น ANSI Lumens ผู้ช่วยของผมบอกว่า เขาได้เข้าไปดูแคทตาล็อคของ Epson แล้วทาง Epson แจ้งความสว่างเป็น Lumens เฉยๆ ผมเลยถามต่อว่าเขาดูที่เว็บอะไร เขาบอกว่าเป็นเว็บ Epson-Europe นั่นแสดงว่าปัจจุบัน เขาแสดงค่าความสว่างเป็นแค่ Lumens จริง ไม่มีคำว่า ANSI Lumens
    แต่ผมก็ยังไม่เชื่อสนิทใจว่า ปัจจุบันเขาเลิกวัดค่าความสว่างของโปรเจคเตอร์ ที่มีชุดสร้างภาพภายในโปรเจคเตอร์จาก ANSI lumens หรือเพียง lumens เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นไปได้มากว่า ถึงแม้เขาจะถอดคำว่า ANSI lumens เหลือเพียง lumens แต่ทางในความเป็นจริง เขาอาจยังวัดค่าความสว่างเป็น ANSI lumens อยู่เหมือนเดิม
ยกตัวอย่าง เลนส์กล้องถ่ายรูปชนิด SIR (Single lens Reflex) ในยุคต้นๆที่ผมเริ่มใช้กล้องถ่ายรูป SLR ที่กระบอกเลนส์เขาจะมีคำว่า Auto ซึ่งกว่าผมจะรู้ว่าเขาหมายถึงอะไรก็นานหลายปี คือในการใช้กล้องถ่ายรูปชนิด SLR เราต้องมองภาพผ่านเลนส์ถ่าย หากเราหรี่ขนาดรูรับแสงให้แคบ เพื่อใช้ถ่ายรูปภาพที่เห็นจะมืด เขาจึงพัฒนาให้ไดอเฟรม...รูรับแสงให้เปิดกว้างสุดตลอดเวลา ไม่ว่าผู้ถ่ายรูปจะตั้งค่าขนาดรูรับแสงไว้แคบแค่ไหน แต่เมื่อช่างภาพเริ่มกดไกลั่นชัดเตอร์ รูรับแสงจะหรี่ลงมาตามขนาดที่ตั้งค่าไว้ก่อนหน้า หลังจากนั้นชัดเตอร์ถึงจะเปิดและปิด หลังการทำงานของชัดเตอร์ ขนาดของรูรับแสงก็จะเปิดกว้างให้มากที่สุดอีกครั้ง ระบบการทำงานแบบนี้เขาเรียกว่า Automatic Diaphragm แต่เขียนไว้บนกระบอกเลนส์ถ่ายรูปเพียงสั้นๆว่า Auto
ต่อมาภายหลังคำว่า Auto ก็หายไปไม่ปรากฏบนกระบอกเลนส์อีกต่อไป  คำอธิบายคือ ในระยะหลังๆเลนส์ถ่ายรูปทุกตัวล้วนเป็นชนิด Automatic Diaphragm ดังนั้นคำว่า Auto จึงไม่ได้แสงว่าเลนส์ถ่ายรูปตัวนั้นดีกว่าของคนอื่นอย่างไร เขาก็เลยตัดคำว่า Auto ออก แต่เลนส์ตัวนั้นก็ยังเป็นชนิด Automatic Diaphragm อยู่ตามเดิม
เช่นเดียวกันกับการเคลือบผิวเลนส์ในสมัยแรกๆที่ผมเริ่มถ่ายรูปจริงจัง เขาจะเคลือบผิวเลนส์ 2-3 ชั้น แต่ภายหลังมีการเคลือบผิวเลนส์ 6-8 ชั้น เรียกว่า Multi Coat เขาจึงมีคำย่อว่า MC ที่หมายถึง Multi Coat ไว้บนกระบอกเลนส์ถ่ายรูป และในภายหลัง เลนส์ถ่ายรูปทุกๆตัวก็เคลือบผิวเลนส์แบบหลายชั้น ทำให้คำว่า MC ไม่มีความหมายอะไรที่เด่นชัดว่าเลนส์ถ่ายรูปตัวนั้นดีกว่าใครๆ เขาจึงตัดคำว่า MC ออก แต่เลนส์ถ่ายรูปทุกตัวก็ยังเป็นชนิด MC อยู่ตามเดิม
    การที่เขาไม่ได้มีคำว่า ANSI Auto หรือ MC ไม่ได้หมายความว่า อุปกรณ์เหล่านั้น ไม่ใช่ Auto ไม่ใช่ MC
และก็ยังมีเหตุการณ์คล้ายๆกันนี้เกิดขึ้นกับผมคือ ครั้งแรกที่ผมขอเป็นดีลเลอร์โปรเจคเตอร์มิตซูฯ เผอิญเซลล์ของบริษัทกันยง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ในบริษัทมิตซูบิชิอีเล็กทริคกันยงวัฒนา จก. ได้เปลี่ยนเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายใหม่ เขาจึงขอให้บริษัทมิตซูฯช่วยอบรมให้พวกเรา แต่เผอิญผมเป็นดีลเลอร์รายใหม่ และยังไม่เคยได้รับการอบรมเลย เขาเลยให้ร้านของผมเข้าอบรมด้วย
เขาแบ่งโปรเจคเตอร์มิตซูฯออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้แผ่น LCD ขนาดใหญ่หน่อย แล้วเขียนว่า LCD Poly Silicon TFT ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งผมยังจำได้ดีคือ รุ่น SL-4, XL-4 และ XL-8 ใช้แผ่น LCD ที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งเขาเขียนไว้เพียง LCD Poly Silicon แต่ไม่มีคำว่า TFT
ผู้บรรยายบอกว่า TFT ทำให้ผู้ชมสามารถมองจากด้านข้างได้ดีกว่า LCD ที่ไม่ใช่ TFT ส่วนโปรเจคเตอร์รุ่นเล็กของมิตซู ไม่ใช่ TFT แม้มุมมองจะแคบกว่าชนิด TFT แต่เนื่องจากแผ่น LCD มีขนาดเล็ก จึงไม่จำเป็นต้องเป็น TFT ที่มีมุมมองที่แคบ ซึ่งผมว่าเขามั่วเละ
ประการแรก ในโปรเจคเตอร์ เราไม่ได้มองไปยังแผ่น LCD แต่มองไปที่จอภาพฉาย ดังนั้น LCD จะเป็นชนิด TFT (Thin Fihm Transister) หรือไม่ใช่ ล้วนไม่มีความสำคัญ แต่ประการสำคัญคือ LCD ชนิด Poly Silicon ทุกตัวล้วนใช้ TFT ทั้งสิ้น ไม่ว่าเขาจะต้องว่าเป็นชนิดที่ใช้ TFT หรือไม่ก็ตาม ผมยังถามเขาว่าโรงงานมิตซูฯ ทำไมไม่ถามไปยังโรงงานมิตซูฯ เขาไม่ยอมตอบ แต่ยังยืนกรานว่า LCD Poly Silicon ขนาดเล็กไม่ใช่ TFT ที่ผมพูดถึงเรื่องนี้ก็เพราะ ต้องการที่จะชี้ให้เห็นว่า แม้ LCD Poly Silicon จะไม่ได้แจ้งว่าใช้ TFT ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ใช้ TFT
ดังนั้นผมจึงค้นคว้าว่า ความสว่างของโปรเจคเตอร์ในปัจจุบันนั้น ยังมีการวัดค่าความสว่างเป็น ANSI lumens อยู่อย่างเดิมหรือไม่ โดยผมค้นหาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมไปถึง Wikipedia ด้วย แต่ก็หาไม่พบ ผมเลยคิดว่าน่าจะถามไปยังบรรณาธิการ Projector Central.com เกี่ยวกับ ANSI ลูเมน
ขณะที่ผมพยายามหาที่ติดต่อกับบรรณาธิการ Projector Central.com อยู่นั้น ผมก็เห็นบทความเรื่อง ANSI lumens ของเขา ผมเลยเข้าไปอ่าน เขาเขียนได้ยาวเหยียดแบบผมจริงๆ ทำให้ผมต้องอดทนอ่านอย่างละเอียด ไม่เช่นนั้นผมอาจอ่านข้ามบทความสำคัญไปได้
ในที่สุดผมก็ได้พบว่า เขาบอกว่าในระยะหลังๆ เขาปลดคำว่า ANSI ออกเหลือเพียง lumens แต่ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดยังใช้วิธีวัดหาค่าแบบ ANSI lumens แต่อาจเป็นอีก 3 มาตรฐานก็ได้ ซึ่งผมไม่ได้จำชื่อ ทำให้ผมสามารถจบบทความนี้ได้ตามความเข้าใจของผม Projector Central.com มีพื้นฐานจากการเขียนบทความวิขจารณ์เกี่ยวกับระบบเสียงในบ้าน แต่ภายหลังมาสนใจเรื่องโปรเจคเตอร์ แต่ในเกรด Home Theater ล้วนๆและในปัจจุบันเริ่มสนใจเกี่ยวกับโปรเจคเตอร์สำหรับทุกงาน และน่าจะมีทีมผู้เขียนหลากหลาย


 

 

นายตาถั่ว  คลำช้าง
(25 /01 /62)

 


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231